Thailand: Economic & Trade
ตัวชี้วัดทางสังคมและเศรษฐกิจของประเทศศรีลังกาและประเทศไทย
ประเทศไทย | ประเทศศรีลังกา | |
ชื่อทางการ | ราชอาณาจักรไทย | สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตย ศรีลังกา |
ขนาดพื้นที่ | 513,120 ตร. กม. | 65,610 ตร. กม. |
เมืองหลวง | กรุงเทพมหานคร | ศรีชยวรรธนปุระโกฏเฏ |
จำนวนประชากร | 69,794,997 (ปี 2023) | 23,326,272 (ปี 2023) |
อายุขัยเฉลี่ย | 77.41 ปี (ปี 2021) | 75.5 ปี (ปี 2017) |
กลุ่มชาติพันธุ์ | ไทย ร้อยละ 97.5 พม่า ร้อยละ 1.3 อื่น ๆ ร้อยละ 1.1 และไม่ระบุ ร้อยละ 0.1 (ปี 2015) | สิงหล ร้อยละ 74.9, ศรีลังกา-ทมิฬ ร้อยละ 11.2, ศรีลังกา-มัวร์ ร้อยละ 9.2, อินเดีย-ทมิฬ ร้อยละ 4.2, และอื่น ๆ ร้อยละ 0.5 (ปี 2012) |
ศาสนา | พุทธ ร้อยละ 94.6, มุสลิม ร้อยละ 4.3 คริสต์ ร้อยละ 1, อื่น ๆ ร้อยละ 0.1 (ปี 2015) | พุทธ ร้อยละ 70.2, ฮินดู ร้อยละ 12.6, มุสลิม ร้อยละ 9.7, โรมันคาทอลิก ร้อยละ 6.1 และคริสต์แบบอื่น ๆ ร้อยละ 1.3 (ปี 2012) |
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) | 543.798 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปี 2019) | 84.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปี 2021) |
อัตราผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP rate) | ร้อยละ 2.62 (2019) | ร้อยละ 3.7 (2021) |
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัว | 7,186.87 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ปี 2019) | 3,814 ดอลลาร์สหรัฐฯ |
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในแต่ละภาคส่วน | ภาคเกษตรกรรม: ร้อยละ 8.2 | ภาคเกษตรกรรม: ร้อยละ 7 (2020 ไม่รวมภาษี) |
ภาคอุตสาหกรรม: ร้อยละ 36.2 | ภาคอุตสาหกรรม: ร้อยละ 25.5 (2020 ไม่รวมภาษี) | |
ภาคบริการ: ร้อยละ 55.6 | ภาคบริการ: ร้อยละ 58.7(2020 ไม่รวมภาษี) | |
แรงงาน | 37.546 ล้านคน (2017) | 8.553 ล้านคน (2021) |
แรงงานในแต่ละภาคส่วน | ภาคเกษตรกรรม: ร้อยละ 31.8 | ภาคเกษตรกรรม: ร้อยละ 27.3 (2021) |
ภาคอุตสาหกรรม: ร้อยละ 16.7 | ภาคอุตสาหกรรม: ร้อยละ 26.0 (2021) | |
ภาคบริการ: ร้อยละ 51.5 (2012) | ภาคบริการ: ร้อยละ 46.7 (2021) | |
อัตราการว่างงาน | ร้อยละ 0.99 (2019) | 5.1% (2021) |
อัตราเงินเฟ้อ | ร้อยละ 0.7 (2019) | 6% (2021) |
ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร | ข้าว, มันสำปะลัง,อ้อย, ปาล์ม, ยาง,ข้าวโพด, ผลไม้เขตร้อน, สับปะรด, มะม่วง | ข้าว, อ้อย, ธัญพืช, เครื่องเทศ, ชา, ยาง, มะพร้าว, ปลา, และ นม |
อุตสาหกรรม | การท่องเที่ยว, เสื้อผ้าและสิ่งทอ, การแปรรูป, เครื่องดื่ม, ยาสูบ, ปูนซีเมนต์, อุตสาหกรรมเบา อาทิ เครื่องประดับ, เครื่องใช้ไฟฟ้า, คอมพิวเตอร์, เฟอร์นิเจอร์, เครื่องจักรกลการเกษตร, เซรามิก, อะลูมิเนียม, มันสำปะหลัง, ข้าว, ประมง, ทังสเตน, ดีบุก | ยาง, ชา, มะพร้าว, สินค้าโภคภัณฑ์, การสื่อสาร, ประกัน, ธนาคาร, การท่องเที่ยว, การขนส่ง, ผ้า, การกลั่นน้ำมัน |
มูลค่าการส่งออก | 296.002 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (2021) | 12.249 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (2021) |
สินค้าส่งออก | อุปกรณ์ในสำนักงาน, รถยนต์และส่วนประกอบรถยนต์, ทองคำ, รถบรรทุก | ผ้า, ชา, เครื่องเทศ, ยาง, หิน, ผลิตภัณฑ์จากมะพร้าว และปลา |
ประเทศที่ส่งออก | สหรัฐฯ ร้อยละ 13, จีน ร้อยละ 12, ญี่ปุ่น ร้อยละ 10, เวียดนาม ร้อยละ 5 (2019) | สหรัฐฯ ร้อยละ 25.07, สหราชอาณาจักร ร้อยละ 7.63, อินเดีย ร้อยละ 6.66, เยอรมนี ร้อยละ 6.16 และ อิตาลี ร้อยละ 4.72 |
มูลค่าการนำเข้า | 295.78 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (2021) | 20.052 พันล้านดอลลาร์สหรั๙ฐฯ |
สินค้านำเข้า | น้ำมันดิบ, วงจรรวม, ก๊าซธรรมชาติ, ส่วนประกอบพาหนะ, ทองคำ (2019) | น้ำมัน, ผ้า, เครื่องจักร และอุปกรณ์ในการขนส่ง, ผลิตภัณฑ์แร่, อาหาร |
ประเทศที่นำเข้า | จีน ร้อยละ 22, ญี่ปุ่น ร้อยละ 14, สหรัฐฯ ร้อยละ 7, มาเลเซีย ร้อยละ 6 (2019) | จีน ร้อยละ 23.71, อินเดีย ร้อยละ 22.5, ยูเออี ร้อยละ 6.55, มาเลเซีย ร้อยละ 3.84 และ สิงโปร์ ร้อยละ 3.61 |
ที่มา: The World Factbook
1. การส่งออกและนำเข้าของศรีลังกา ปริมาณการค้าและดุลการค้ากับประเทศไทย
ในรอบ 5 ปีหลังสุด มูลค่าการค้าระหว่างประเทศไทยกับประเทศศรีลังกาเป็นไปอย่างไม่แน่นอน ดังตารางที่ 1
ตารางที่ 1 การค้ากับไทย ปี 2560 – 2565
มูลค่าล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ปี | การส่งออก | การนำเข้า | การค้ารวม | ดุลการค้า | ร้อยละ การส่งออกต่อ การนำเข้า | |||
มูลค่า | การเติบโต (%) | มูลค่า | การเติบโต (%) | มูลค่า | การเติบโต | |||
2017 | 52.59 | – | 518.54 | – | 571.13 | – | (465.96) | 10.14 |
2018 | 44.55 | (15.28) | 497.57 | (4.04) | 542.13 | (5.08) | (453.02) | 8.95 |
2019 | 97.44 | 118.71 | 437.94 | (11.98) | 535.38 | (1.24) | (340.50) | 22.25 |
2020 | 37.58 | (61.44) | 366.34 | (16.35) | 403.91 | (24.56) | (328.76) | 10.26 |
2021 | 51.61 | 37.34 | 397.85 | 8.60 | 449.46 | 11.28 | (346.24) | 12.97 |
2022 | 58.82 | 13.97 | 292.68 | (26.43) | 351.50 | (21.80) | (233.86) | 20.10 |
ที่มา: กรมศุลกากรศรีลังกา
ในปี 2019 มูลค่าการส่งออกสินค้าจากศรีลังกามายังประเทศไทยเพิ่มสูงมากขึ้นถึง 97.44 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อันเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนส่งออกอัญมณีและข้าวสาลีจากศรีลังกามายังประเทศไทย ทว่า ในปี 2020 มูลค่าการส่งออกดังกล่าวหดตัวลงมากถึงร้อยละ 61 เนิ่องด้วยการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรน่า 2019 ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตและการบริการภายในประเทศ ทั้งนี้ ในปี 2021 มูลค่าการส่งออกกลับมาพุ่งสูงขึ้น เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ในการส่งออกผ้าถักและโครเชต์ รวมไปถึงหนังสือ หนังสือพิมพ์ รูปภาพ และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการพิมพ์ และอัญมณี พร้อมทั้งในปี 2022 ยังคงเติบโตต่อเนื่องมากขึ้นร้อยละ 13.97 เมื่อเทียบกับปีก่อน อันเนื่องมาจากจำนวนที่เพิ่มขึ้นของการส่งออกอัญมณีมูลค่าสูงและอัญมณีที่มีมูลค่ารองลงมา โดยประเทศไทยได้ทำการค้าแบบเกินดุลกับประเทศศรีลังกาในแง่ของการมีมูลค่าการส่งออกสินค้ามากกว่ามูลค่าการนำเข้าจากศรีลังกา ทว่า ช่องว่างการเกินดุลดังกล่าวได้แคบลงทุกปี เห็นได้ชัดจากการลดลงอย่างมีนัยสำคัญของการนำเข้าสินค้า จากประเทศไทย
- ในปี 1977 ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 43 ของตลาดส่งออกสินค้าของศรีลังกา ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 0.24 ของตลาดส่งออกทั้งหมด โดยในปี 2022 ประเทศไทยขยับขึ้นมาอยู่ในลำดับที่ 37 โดยคิดเป็นร้อยละ 0.46 ของตลาดส่งออกทั้งหมดของประเทศศรีลังกา
- ทั้งนี้ อัญมณีมูลค่าสูงและรองลงมากลายเป็นสินค้าหลักในการส่งออกมายังประเทศไทย ซึ่งในปี 2022 มูลค่าการส่งออกสินค้าดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับปี 2021 โดยคิดเป็นร้อยละ 57.14 ของมูลค่า การส่งออกสินค้ามายังประเทศไทยทั้งหมดในปี 2022 ดังตารางที่ 2
ตารางที่ 2: สินค้าหลักในการส่งออกมายังประเทศไทย (2018 – 2022)
มูลค่าล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
รหัสสินค้า | คำอธิบาย | 2018 | 2019 | 2020 | 2021 | 2022 | สัดส่วนสินค้า ส่งออกมาไทย | การเปลี่ยนแปลง ในปี 2022 จากปี 2021 |
7103 | อัญมณีมูลค่าสูง และรองลงมา | 8.04 | 54.96 | 11.33 | 16.27 | 33.61 | 57.14 | 106.58 |
110100 | ข้าวสาลี | 4.75 | 6.67 | 4.93 | 3.56 | 3.69 | 6.27 | 3.65 |
8532 | ตัวเก็บประจุไฟฟ้า | 2.09 | 2.10 | 1.45 | 2.07 | 3.07 | 5.22 | 48.31 |
61 & 62 | เครื่องแต่งกาย | 3.94 | 4.00 | 1.85 | 1.58 | 2.89 | 4.91 | 82.91 |
0306 | สัตว์ที่มีเปลือกแข็ง | 3.89 | 5.93 | 3.68 | 3.03 | 2.88 | 4.90 | -4.95 |
3802 | ถ่านกำมะถัน | 0.36 | 0.42 | 0.56 | 1.36 | 1.29 | 2.19 | -5.15 |
27101960 | น้ำมันเตา | 0.68 | 0.14 | 0.13 | 0.22 | 1.11 | 1.89 | 404.55 |
83 | โลหะต่าง ๆ | 0.88 | 0.86 | 0.59 | 1.05 | 1.05 | 1.79 | 0.00 |
90 | อุปกรณ์เกี่ยวกับกล้องและภาพยนตร์, อุปกรณ์ทางการแพทย์ | 2.05 | 2.61 | 2.59 | 1.25 | 1.03 | 1.75 | -17.60 |
56 | ผ้าแวดดิ่ง และ ผ้านอนวูฟเวน | 0.41 | 0.81 | 0.42 | 0.58 | 1.01 | 1.72 | 74.14 |
0902 | ชา | 1.51 | 1.30 | 0.74 | 0.59 | 0.94 | 1.60 | 59.32 |
อื่น ๆ | 15.96 | 17.64 | 9.30 | 20.03 | 6.24 | 10.61 | -68.85 | |
รวม | 44.55 | 97.44 | 37.58 | 51.61 | 58.82 | 100.00 | 13.97 |
ที่มา: กรมศุลกากรศรีลังกา
- ในปี 2022 ประเทศไทยติดอันดับที่ 11 ของการนำเข้าสินค้ามายังประเทศศรีลังกามากที่สุด โดยประมาณร้อยละ 1.75 ของประเทศทั้งหมดคู่นำเข้าทั้งหมด
- ซึ่งยางแผ่นลมควันเป็นสินค้าหลักที่ศรีลังกานำเข้าจากประเทศไทยมากที่สุด อันคิดเป็นร้อยละ 9.62 ของสินค้านำเข้าทั้งหมด ดังตารางที่ 3
ตารางที่ 3: สินค้าหลักในการนำเข้ามายังประเทศไทย (2018 – 2022)
มูลค่าล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
รหัสสินค้า | คำอธิบาย | 2018 | 2019 | 2020 | 2021 | 2022 | สัดส่วนสินค้า ส่งออกมาไทย | การเปลี่ยนแปลง ในปี 2022 จากปี 2021 |
400121 | ยางแผ่นรมควัน | 16.24 | 11.61 | 8.84 | 28.38 | 28.17 | 9.62 | -0.74 |
39 | พลาสติก | 32.72 | 24.35 | 18.34 | 36.14 | 24.48 | 8.36 | -32.26 |
4001 | ยางธรรมชาติ | 10.80 | 8.97 | 12.86 | 17.31 | 21.78 | 7.44 | 25.82 |
60 | ผ้าถักและโครเชต์ | 19.34 | 22.43 | 14.97 | 18.28 | 21.02 | 7.18 | 14.99 |
17019910 | น้ำตาลทรายขาว | 13.32 | 41.61 | 14.76 | 15.11 | 13.16 | 4.50 | -12.91 |
54 | เส้นใยสังเคราะห์ | 7.16 | 7.21 | 6.78 | 9.91 | 10.88 | 3.72 | 9.79 |
0305 | ปลาแห้ง | 43.13 | 32.62 | 22.61 | 18.34 | 10.87 | 3.71 | -40.73 |
84 | เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ | 17.90 | 16.85 | 11.66 | 20.79 | 9.99 | 3.41 | -51.95 |
2523 | ปูนซีเมนต์ พอร์ตแลนด์ | 39.00 | 14.51 | 11.92 | 13.40 | 9.16 | 3.13 | -31.64 |
23 | สิ่งที่เหลือจากอุตสาหกรรมอาหาร | 8.47 | 5.74 | 5.95 | 9.32 | 8.35 | 2.85 | -10.41 |
55 | เส้นใยสั้นสังเคราะห์ | 20.99 | 25.01 | 16.37 | 10.82 | 7.46 | 2.55 | -31.05 |
19 | ธัญพืช | 18.02 | 10.56 | 18.59 | 8.41 | 5.97 | 2.04 | -29.01 |
72 & 73 | เหล็กกล้า | 13.69 | 18.71 | 29.34 | 12.09 | 5.57 | 1.90 | -53.93 |
48 | กระดาษและกระดาษแข็ง | 9.48 | 9.26 | 5.50 | 5.05 | 5.22 | 1.78 | 3.37 |
อื่น ๆ | 227.31 | 188.50 | 167.85 | 174.47 | 110.60 | 37.79 | -36.61 | |
รวม | 497.57 | 437.94 | 366.34 | 397.85 | 292.68 | 100.00 | -26.43 |
ที่มา: กรมศุลกากรศรีลังกา
2. ขอบเขตการขยายการส่งออกสินค้าไปยังประเทศไทย (Scope for further expansion of Sri Lanka’s Exports to Thailand)
อัญมณี เป็นสินค้าที่มียอดการส่งออกจากประเทศศรีลังกามาประเทศไทยมากที่สุด อาทิ ทับทิม พลอยแซฟไฟร์ และมรกต นอกจากนี้ยังมีการส่งออกยางรถยนต์คูชชั่นและชาดำ ทั้งนี้ ประเทศศรีลังกามีความสามารถในการจัดหาชาดำและอัญมณี เพื่อตอบสนองความต้องการจำนวนมากในประเทศไทย โดยการเพิ่มขึ้นความต้องการดังกล่าวและความสามารถในการจัดหาสินค้าได้อย่างยั่งยืนของประเทศศรีลังกาทำให้สินค้าดังต่อไปนี้มีแนวโน้มในการขยายการส่งออกมาขึ้นในประเทศไทย
- ทูน่าพร้อมกิน หรือ ทูน่าดอง
- แคโทดของทองแดง
- แป้งปลา หรือ สัตว์จำพวกครัสเตเชียน
- ปลาโอ หรือ ปลาโบนิโตแช่แข็ง
- ชุดโทรศัพท์
- ตัวนำ<ไฟฟ้า
- กากอ้อยจากการกลั่นน้ำตาล
- กุ้งสด
- ถั่วลิสง (ที่ปราศจากการอบ)
- ผลิตภัณฑ์ที่ทานได้จากสัตว์
3. ข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างศรีลังกา-ไทย (Proposed Sri Lanka-Thailand Free Trade Agreement SLTFTA)
- ได้มีการประชุมอนุกรรมการด้านการค้าระหว่างประเทศศรีลังกาและประเทศไทย ครั้งที่ 2 ณ กรุงเทพมหานครฯ โดยทั้งสองประเทศต่างเห็นชอบในการจัดทำข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศศรีลังกาและประเทศไทย (SLTFTA) เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2560
- การเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างศรีลังกา-ไทยถูกจัดขึ้นด้วยกันสามรอบ โดยรอบแรกถูกจัดขึ้นในวันที่ 13 กรกฎาคม 2561 ในกรุงโคลอมโบในขณะที่ ครั้งที่สองทางการรัฐบาลไทยจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ในวันที่19 –20 กันยายน 2018 เพื่อเจรจาในเรื่องของสินค้าและขยายความเข้าใจในเรื่องของข้อตกการค้าเสรีร่วมกัน
- การเจราจาในครั้งที่ 3 เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 9 และ 10 มกราคม 2023 ณ กรุงโคลอมโบ โดยมีการเจรจาในเรื่องของการค้าในภาคสินค้าและบริการ รวมไปถึงกฎเกณฑ์และกระบวนการของภาษี ตลอดจนการอำนวยความสะดวกในการด้านการค้าและความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ
4. การประชุมคณะกรรมการร่วมระหว่างศรีลังกา-ไทย (Thailand – Sri Lanka Joint Commission)
ในปี 2013 มีการประชุมคณะกรรมการร่วมระหว่างประเทศศรีลังกากับประเทศไทยครั้งที่สาม ณ กรุงโคลอมโบ โดยในครั้งที่ 4 เป็นการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งถูกจัดขึ้นโดยรัฐบาลไทย
5. หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจระหว่างศรีลังกา-ไทย (Strategic Economic Partnership between Sri Lanka and Thailand)
สืบเนื่องการเยือนอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยระหว่างวันที่ 12-13 กรกฎาคม 2018 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจร่วมกันระหว่างศรีลังกา-ไทยในแง่ของการเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ เพื่อการดำเนินการเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพของทั้งสองประเทศ จึงได้มีการจัดทำแผนงานด้านยุทธ์ศาสตร์ทางเศรษฐกิจร่วมกันในการธุรกิจและสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ รวมถึงนโยบายและการจัดลำความสำคัญทางเศรษฐกิจ โดยทั้งสองประเทศต่างเห็นชอบร่วมกันใน 10 ความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่สำคัญ อันประกอบไปด้วย การลงทุน โครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตร การประมง อัญมณีและเครื่องประดับ การท่องเที่ยว วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ความร่วมมือทางการเงิน อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ และการพัฒนาเทคโนโลยี
การประชุมคณะอนุกรรมการด้านการค้าระหว่างศรีลังกาและไทย ครั้งที่ 4 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2565
6. การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในศรีลังกา (Application of the Sufficiency Economic Philosophy (SEP) in Sri Lanka)
ในช่วงเยือนประเทศศรีลังกาของนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา รัฐบาลศรีลังกาได้ยอมรัมโครงการทำงานร่วมกันในเรื่องของ “หนึ่งหมู่บ้าน หนึ่งผลิตภัณฑ์” (OVOP) โดยทำงานร่วมกับกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ (TICA) ในการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้ในศรีลังกา โดยโครงการนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากโครงการ “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” (OTOP) อันเป็นโครงการที่สนับสนุนการผลิตสินค้าท้องถิ่นของแต่ละตำบลในประเทศไทย มากไปกว่านั้น ยังมีโครงการอีกมากมายที่อยู่ภายใต้แนวคิดดังกล่าวในศรีลังกา อันได้รับการสนับสนุนจากทาง รัฐบาลไทย
สถิตเพิ่มเติมของการค้าทวิภาคีกับประเทศไทย (Additional Bilateral Trade Statistics – Thailand)
ปี | อันดับ | มูลค่า (ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) | สัดส่วนต่อมูลค่าการส่งออกทั่วโลก | อัตราการเติบโต |
1977 | 43 | 1.65 | 0.24 | – |
2022 | 37 | 58.82 | 0.46 | 21.60 |
ที่มา: กรมศุลกากรศรีลังกา
หมายเหตุ: ในปี 1997 มูลค่าการส่งออกของศรีลังกาทั่วโลกอยู่ที่ 743 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยในปี 2022 มูลค่าการส่งออกเติบโตมากถึง 17 เท่า อันมีมูลค่าอยู่ที่ 12,743.64 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
มูลค่าล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ปี | มูลค่าการส่งออก | ร้อยละของการส่งออกทั่วโลก | การนำเข้า | การค้ารวม | ดุลการค้า |
1995 | 18.34 | 0.48 | 114.25 | 132.59 | -95.91 |
2000 | 77.20 | 1.46 | 160.22 | 237.43 | -83.02 |
2001 | 36.87 | 0.78 | 147.57 | 184.44 | -110.70 |
2002 | 14.15 | 0.30 | 146.06 | 160.21 | -131.91 |
2003 | 11.14 | 0.23 | 145.93 | 157.07 | -134.80 |
2004 | 18.50 | 0.34 | 151.86 | 170.35 | -133.36 |
2005 | 26.57 | 0.43 | 168.17 | 194.75 | -141.60 |
2006 | 37.43 | 0.55 | 202.95 | 240.38 | -165.52 |
2007 | 46.76 | 0.61 | 230.74 | 277.50 | -183.99 |
2008 | 77.65 | 0.95 | 297.94 | 375.58 | -220.29 |
2009 | 62.79 | 0.88 | 270.47 | 333.25 | -207.68 |
2010 | 84.05 | 1.01 | 315.93 | 399.98 | -231.88 |
2011 | 75.67 | 0.76 | 491.05 | 566.72 | -415.38 |
2012 | 70.37 | 0.75 | 460.21 | 530.58 | -389.84 |
2013 | 56.54 | 0.57 | 428.02 | 484.55 | -371.48 |
2014 | 57.02 | 0.50 | 462.02 | 519.04 | -405.01 |
2015 | 33.51 | 0.36 | 497.75 | 531.26 | -464.23 |
2016 | 35.27 | 0.34 | 514.80 | 550.08 | -479.53 |
2017 | 52.59 | 0.46 | 518.54 | 571.13 | -465.96 |
2018 | 44.55 | 0.38 | 497.57 | 542.13 | -453.02 |
2019 | 97.44 | 0.83 | 437.94 | 535.38 | -340.50 |
2020 | 37.58 | 0.38 | 366.34 | 403.92 | -328.76 |
2021 | 51.61 | 0.42 | 397.85 | 449.46 | -346.24 |
2022 | 58.82 | 0.46 | 292.68 | 351.50 | -233.86 |
ที่มา: กรมศุลกากรศรีลังกา / แผนที่การค้า
จำนวนโอกาสการฝึกอบรมต่างประเทศที่ได้รับจากประเทศไทยระหว่างปี 2558 – 2562
ผู้มอบ |
2015 | 2016 | 2017 | 2018 | 2019 | |||||||
ระยะสั้น | ระยะยาว | ระยะสั้น | ระยะยาว | ระยะสั้น | ระยะยาว | ระยะสั้น | ระยะยาว | ระยะสั้น | ระยะยาว | |||
ไทย | 19 | 2 | 16 | 7 | 25 | 2 | 21 | 0 | 17 | 2 |
จำนวนของโอกาสการฝึกงานที่ได้รับจากประเทศไทย ระหว่างปี 2023 (Number of Foreign Training Opportunities received from Thailand in 2023)
จำนวนของโครงการ | จำนวนการสมัคร | จำนวนที่ได้รับเลือก | ||||
ผู้มอบ | ระยะสั้น | ระยะยาว | ระยะสั้น | ระยะยาว | ระยะสั้น | ระยะยาว |
ไทย | 11 | 19 | 24 | 0 | 24 | 0 |
ในปี 2023 กรมความร่วมมือระหว่างประเทศของประเทศไทยเสนอทุนให้รัฐบาลศรีลังกา ในหัวข้อเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สาธารณสุข ความมั่นคงทางเกษตรกรรมและอาหาร การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและประเด็นสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจชีวภาพ และเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
แผนการปฏิบัติ 2 ปี ระหว่างศรีลังกากับไทย (2023 – 2024) (2-year Implementation Plan between Sri Lanka and Thailand (2023-2024)
กรมความร่วมมือระหว่างประเทศได้ยกร่างแผนปฏิบัติระหว่างประเทศศรีลังกากับประเทศไทย เพื่อที่จะส่งเสริม ความร่วมมือในการพัฒนาระยะยาวระหว่างทั้งสองประเทศ โดยมีทั้งหมด 6 โครงการที่อยู่ภายใต้แผนปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
โครงการ | หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | ข้อเสนอแนะจากหน่วยงานที่ปฏิบัติโครงการ | |
01 | โครงการการท่องเที่ยวโดยชุมชนของหมู่บ้านวัตถุปุระ เมืองพุทธาราม |
|
แผนการปฏิบัติ 2 ปี ได้รวมงบประมาณสำหรับโครงการที่ได้รับการเสนอจากกรมการพัฒนาสมุธิ โดยเป็นโครงการที่เสนอจะขยายไปอีก 10 หมู่บ้านในเมือง |
02 | โครงการพัฒนาหนึ่งหมู่บ้าน หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OVOP) |
|
สภาหัตถกรรมแห่งชาติ เสนอ 3 โครงการ ได้แก่
|
03 | การฝึกอบรมในเรื่องการเพาะพันธุ์ ปลาสวยงาม |
|
การฝึกอบรมในเรื่องเพาะพันธุ์ปลายสวยงามเป็นแนวคิดที่ถูกเสนอโดยกรมการพัฒนาการเพาะพันธุ์พืชและสัตว์น้ำ |
04 | โครงการฟื้นฟูช้างและสวัสดิการ | กระทรวงการต่างประเทศ | |
05 | หลักสูตรอบรมนานาชาติประจำปี | กรมทรัพยากรภายนอก | กรมทรัพยากรภายนอก หวังที่จะปรึกษาในรายละเอียดเกี่ยวกับทุน |
06 | หลักสูตรบัณฑิตศึกษานานาชาติ | กรมทรัพยากรภายนอก |
โอกาสการทำงานสำหรับคนศรีลังกา (Employment opportunities for Sri Lankans)
ในช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 กระทรวงแรงงานรายงานว่ามีแรงงานมีฝีมือชาวศรีลังกาประมาณ 300 คนในประเทศไทย ซึ่งอยู่ในภาคส่วนการจัดการ การผลิต การสอน และการบริการด้านสถาปัตยกรรม
โดยในปัจจุบัน จำนวนชาวศรีลังกาที่ลงทะเบียนกับสถานทูตมีอยู่ที่ 176 คน ซึ่งมีจำนวน 153 คน จากทั้งหมดทำงานในประเทศไทย ทั้งนี้จำนวนนักศึกษาศรีลังกาในประเทศที่ลงทะเบียนมีอยู่ประมาณ 60 คน (สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย 25 คน มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก 6 คน สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 15 คน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 6 คน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 4 คน มหาวิทยาลัยรังสิต 2 คน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 1 คน และมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 1 คน)
ทั้งนี้ เศรษฐกิจของประเทศไทยกำลังค่อย ๆ ฟื้นตัวจากผลกระทบของการแพร่ระบาดโควิด-19 ทว่าในสถานการณ์เช่นนี้ ปลัดกระทรวงฯ ตกลงที่จะให้การสนับสนุนทางด้านโอกาสในการจ้างงานสำหรับลูกจ้างภาครัฐในประเทศศรีลังกา และร้องขอให้ส่งต่อประวัติย่อของผู้สมัครที่มีศักยภาพและมีความต้องการทำงานในประเทศไทย เพื่อที่จะดำเนินการติดต่อกับนายจ้างไทยในการคัดเลือกผู้สมัครต่อไป