ශ්‍රී ලංකා ප්‍රජාතාන්ත්‍රික සමාජවාදී ජනරජයේ තානාපති සහ නිත්‍ය නියෝජිත කාර්යාලය, බැංකොක්, තායිලන්ත රාජධානිය

இலங்கை ஜனநாயக சோசலிச குடியரசின் தூதரகம் மற்றும் நிரந்தர வதிவிடம், பாங்கொக், தாய்லாந்து இராச்சியம்

The Embassy and Permanent Mission of the Democratic Socialist Republic of Sri Lanka
Bangkok, Kingdom of Thailand

Accredited to the Kingdom of Cambodia, Lao People’s Democratic Republic and
United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific (UNESCAP)

เลือกหน้า
embassy sri lanka
Unescap logos
embassy sri lanka

The Embassy and Permanent Mission of the Democratic Socialist Republic of Sri Lanka
Bangkok, Kingdom of Thailand

Accredited to the Kingdom of Cambodia, Lao People’s Democratic Republic and
United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific (UNESCAP)

Unescap logos

Thailand: Economic & Trade

ตัวชี้วัดทางสังคมและเศรษฐกิจของประเทศศรีลังกาและประเทศไทย

ประเทศไทย ประเทศศรีลังกา
ชื่อทางการ ราชอาณาจักรไทย สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตย ศรีลังกา
ขนาดพื้นที่ 513,120 ตร. กม. 65,610 ตร. กม.
เมืองหลวง กรุงเทพมหานคร ศรีชยวรรธนปุระโกฏเฏ
จำนวนประชากร 69,794,997 (ปี 2023) 23,326,272 (ปี 2023)
อายุขัยเฉลี่ย 77.41 ปี (ปี 2021) 75.5 ปี (ปี 2017)
กลุ่มชาติพันธุ์ ไทย ร้อยละ 97.5 พม่า ร้อยละ 1.3 อื่น ๆ ร้อยละ 1.1 และไม่ระบุ ร้อยละ 0.1 (ปี 2015) สิงหล ร้อยละ 74.9, ศรีลังกา-ทมิฬ ร้อยละ 11.2, ศรีลังกา-มัวร์ ร้อยละ 9.2, อินเดีย-ทมิฬ ร้อยละ 4.2, และอื่น ๆ ร้อยละ 0.5 (ปี 2012)
ศาสนา พุทธ ร้อยละ 94.6, มุสลิม ร้อยละ 4.3 คริสต์ ร้อยละ 1, อื่น ๆ ร้อยละ 0.1 (ปี 2015) พุทธ ร้อยละ 70.2, ฮินดู ร้อยละ 12.6, มุสลิม ร้อยละ 9.7, โรมันคาทอลิก ร้อยละ 6.1 และคริสต์แบบอื่น ๆ ร้อยละ 1.3 (ปี 2012)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) 543.798 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปี 2019) 84.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปี 2021)
อัตราผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP rate) ร้อยละ 2.62 (2019) ร้อยละ 3.7 (2021)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัว 7,186.87 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ปี 2019) 3,814 ดอลลาร์สหรัฐฯ
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในแต่ละภาคส่วน ภาคเกษตรกรรม: ร้อยละ 8.2 ภาคเกษตรกรรม: ร้อยละ 7 (2020 ไม่รวมภาษี)
ภาคอุตสาหกรรม: ร้อยละ 36.2 ภาคอุตสาหกรรม: ร้อยละ 25.5 (2020 ไม่รวมภาษี)
ภาคบริการ: ร้อยละ 55.6 ภาคบริการ: ร้อยละ 58.7(2020 ไม่รวมภาษี)
แรงงาน 37.546 ล้านคน (2017) 8.553 ล้านคน (2021)
แรงงานในแต่ละภาคส่วน ภาคเกษตรกรรม: ร้อยละ 31.8 ภาคเกษตรกรรม: ร้อยละ 27.3 (2021)
ภาคอุตสาหกรรม: ร้อยละ 16.7 ภาคอุตสาหกรรม: ร้อยละ 26.0 (2021)
ภาคบริการ: ร้อยละ 51.5 (2012) ภาคบริการ: ร้อยละ 46.7 (2021)
อัตราการว่างงาน ร้อยละ 0.99 (2019) 5.1% (2021)
อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 0.7 (2019) 6% (2021)
ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ข้าว, มันสำปะลัง,อ้อย, ปาล์ม, ยาง,ข้าวโพด, ผลไม้เขตร้อน, สับปะรด, มะม่วง ข้าว, อ้อย, ธัญพืช, เครื่องเทศ, ชา, ยาง, มะพร้าว, ปลา, และ นม
อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว, เสื้อผ้าและสิ่งทอ, การแปรรูป, เครื่องดื่ม, ยาสูบ, ปูนซีเมนต์, อุตสาหกรรมเบา อาทิ เครื่องประดับ, เครื่องใช้ไฟฟ้า, คอมพิวเตอร์, เฟอร์นิเจอร์, เครื่องจักรกลการเกษตร, เซรามิก, อะลูมิเนียม, มันสำปะหลัง, ข้าว, ประมง, ทังสเตน, ดีบุก ยาง, ชา, มะพร้าว, สินค้าโภคภัณฑ์, การสื่อสาร, ประกัน, ธนาคาร, การท่องเที่ยว, การขนส่ง, ผ้า, การกลั่นน้ำมัน
มูลค่าการส่งออก 296.002 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (2021) 12.249 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (2021)
สินค้าส่งออก อุปกรณ์ในสำนักงาน, รถยนต์และส่วนประกอบรถยนต์, ทองคำ, รถบรรทุก ผ้า, ชา, เครื่องเทศ, ยาง, หิน, ผลิตภัณฑ์จากมะพร้าว และปลา
ประเทศที่ส่งออก สหรัฐฯ ร้อยละ 13, จีน ร้อยละ 12, ญี่ปุ่น ร้อยละ 10, เวียดนาม ร้อยละ 5 (2019) สหรัฐฯ ร้อยละ 25.07, สหราชอาณาจักร ร้อยละ 7.63, อินเดีย ร้อยละ 6.66, เยอรมนี ร้อยละ 6.16 และ อิตาลี ร้อยละ 4.72
มูลค่าการนำเข้า 295.78 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (2021) 20.052 พันล้านดอลลาร์สหรั๙ฐฯ
สินค้านำเข้า น้ำมันดิบ, วงจรรวม, ก๊าซธรรมชาติ, ส่วนประกอบพาหนะ, ทองคำ (2019) น้ำมัน, ผ้า, เครื่องจักร และอุปกรณ์ในการขนส่ง, ผลิตภัณฑ์แร่, อาหาร
ประเทศที่นำเข้า จีน ร้อยละ 22, ญี่ปุ่น ร้อยละ 14, สหรัฐฯ ร้อยละ 7, มาเลเซีย ร้อยละ 6 (2019) จีน ร้อยละ 23.71, อินเดีย ร้อยละ 22.5, ยูเออี ร้อยละ 6.55, มาเลเซีย ร้อยละ 3.84 และ สิงโปร์ ร้อยละ 3.61

ที่มา: The World Factbook

1. การส่งออกและนำเข้าของศรีลังกา ปริมาณการค้าและดุลการค้ากับประเทศไทย

ในรอบ 5 ปีหลังสุด มูลค่าการค้าระหว่างประเทศไทยกับประเทศศรีลังกาเป็นไปอย่างไม่แน่นอน ดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 การค้ากับไทย ปี 2560 – 2565

มูลค่าล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ปี การส่งออก การนำเข้า การค้ารวม ดุลการค้า ร้อยละ การส่งออกต่อ การนำเข้า
มูลค่า การเติบโต (%) มูลค่า การเติบโต (%) มูลค่า การเติบโต
2017 52.59 518.54 571.13 (465.96) 10.14
2018 44.55 (15.28) 497.57 (4.04) 542.13 (5.08) (453.02) 8.95
2019 97.44 118.71 437.94 (11.98) 535.38 (1.24) (340.50) 22.25
2020 37.58 (61.44) 366.34 (16.35) 403.91 (24.56) (328.76) 10.26
2021 51.61 37.34 397.85 8.60 449.46 11.28 (346.24) 12.97
2022 58.82 13.97 292.68 (26.43) 351.50 (21.80) (233.86) 20.10

ที่มา: กรมศุลกากรศรีลังกา

ในปี 2019 มูลค่าการส่งออกสินค้าจากศรีลังกามายังประเทศไทยเพิ่มสูงมากขึ้นถึง 97.44 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อันเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนส่งออกอัญมณีและข้าวสาลีจากศรีลังกามายังประเทศไทย ทว่า ในปี 2020 มูลค่าการส่งออกดังกล่าวหดตัวลงมากถึงร้อยละ 61 เนิ่องด้วยการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรน่า 2019 ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตและการบริการภายในประเทศ ทั้งนี้ ในปี 2021 มูลค่าการส่งออกกลับมาพุ่งสูงขึ้น เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ในการส่งออกผ้าถักและโครเชต์ รวมไปถึงหนังสือ หนังสือพิมพ์ รูปภาพ และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการพิมพ์ และอัญมณี พร้อมทั้งในปี 2022 ยังคงเติบโตต่อเนื่องมากขึ้นร้อยละ 13.97 เมื่อเทียบกับปีก่อน อันเนื่องมาจากจำนวนที่เพิ่มขึ้นของการส่งออกอัญมณีมูลค่าสูงและอัญมณีที่มีมูลค่ารองลงมา โดยประเทศไทยได้ทำการค้าแบบเกินดุลกับประเทศศรีลังกาในแง่ของการมีมูลค่าการส่งออกสินค้ามากกว่ามูลค่าการนำเข้าจากศรีลังกา ทว่า ช่องว่างการเกินดุลดังกล่าวได้แคบลงทุกปี เห็นได้ชัดจากการลดลงอย่างมีนัยสำคัญของการนำเข้าสินค้า จากประเทศไทย

การส่งออกสินค้าจากศรีลังกามายังประเทศไทย
  • ในปี 1977 ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 43 ของตลาดส่งออกสินค้าของศรีลังกา ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 0.24 ของตลาดส่งออกทั้งหมด โดยในปี 2022 ประเทศไทยขยับขึ้นมาอยู่ในลำดับที่ 37 โดยคิดเป็นร้อยละ 0.46 ของตลาดส่งออกทั้งหมดของประเทศศรีลังกา
  • ทั้งนี้ อัญมณีมูลค่าสูงและรองลงมากลายเป็นสินค้าหลักในการส่งออกมายังประเทศไทย ซึ่งในปี 2022 มูลค่าการส่งออกสินค้าดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับปี 2021 โดยคิดเป็นร้อยละ 57.14 ของมูลค่า การส่งออกสินค้ามายังประเทศไทยทั้งหมดในปี 2022 ดังตารางที่ 2

ตารางที่ 2: สินค้าหลักในการส่งออกมายังประเทศไทย (2018 – 2022)

มูลค่าล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

รหัสสินค้า คำอธิบาย 2018 2019 2020 2021 2022 สัดส่วนสินค้า ส่งออกมาไทย การเปลี่ยนแปลง ในปี 2022 จากปี 2021
7103 อัญมณีมูลค่าสูง และรองลงมา 8.04 54.96 11.33 16.27 33.61 57.14 106.58
110100 ข้าวสาลี 4.75 6.67 4.93 3.56 3.69 6.27 3.65
8532 ตัวเก็บประจุไฟฟ้า 2.09 2.10 1.45 2.07 3.07 5.22 48.31
61 & 62 เครื่องแต่งกาย 3.94 4.00 1.85 1.58 2.89 4.91 82.91
0306 สัตว์ที่มีเปลือกแข็ง 3.89 5.93 3.68 3.03 2.88 4.90 -4.95
3802 ถ่านกำมะถัน 0.36 0.42 0.56 1.36 1.29 2.19 -5.15
27101960 น้ำมันเตา 0.68 0.14 0.13 0.22 1.11 1.89 404.55
83 โลหะต่าง ๆ 0.88 0.86 0.59 1.05 1.05 1.79 0.00
90 อุปกรณ์เกี่ยวกับกล้องและภาพยนตร์, อุปกรณ์ทางการแพทย์ 2.05 2.61 2.59 1.25 1.03 1.75 -17.60
56 ผ้าแวดดิ่ง และ ผ้านอนวูฟเวน 0.41 0.81 0.42 0.58 1.01 1.72 74.14
0902 ชา 1.51 1.30 0.74 0.59 0.94 1.60 59.32
อื่น ๆ 15.96 17.64 9.30 20.03 6.24 10.61 -68.85
รวม 44.55 97.44 37.58 51.61 58.82 100.00 13.97

ที่มา: กรมศุลกากรศรีลังกา

การนำเข้าสินค้าจากประเทศไทย
  • ในปี 2022 ประเทศไทยติดอันดับที่ 11 ของการนำเข้าสินค้ามายังประเทศศรีลังกามากที่สุด โดยประมาณร้อยละ 1.75 ของประเทศทั้งหมดคู่นำเข้าทั้งหมด
  • ซึ่งยางแผ่นลมควันเป็นสินค้าหลักที่ศรีลังกานำเข้าจากประเทศไทยมากที่สุด อันคิดเป็นร้อยละ 9.62 ของสินค้านำเข้าทั้งหมด ดังตารางที่ 3

ตารางที่ 3: สินค้าหลักในการนำเข้ามายังประเทศไทย (2018 – 2022)

มูลค่าล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

รหัสสินค้า คำอธิบาย 2018 2019 2020 2021 2022 สัดส่วนสินค้า ส่งออกมาไทย การเปลี่ยนแปลง ในปี 2022 จากปี 2021
400121 ยางแผ่นรมควัน 16.24 11.61 8.84 28.38 28.17 9.62 -0.74
39 พลาสติก 32.72 24.35 18.34 36.14 24.48 8.36 -32.26
4001 ยางธรรมชาติ 10.80 8.97 12.86 17.31 21.78 7.44 25.82
60 ผ้าถักและโครเชต์ 19.34 22.43 14.97 18.28 21.02 7.18 14.99
17019910 น้ำตาลทรายขาว 13.32 41.61 14.76 15.11 13.16 4.50 -12.91
54 เส้นใยสังเคราะห์ 7.16 7.21 6.78 9.91 10.88 3.72 9.79
0305 ปลาแห้ง 43.13 32.62 22.61 18.34 10.87 3.71 -40.73
84 เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 17.90 16.85 11.66 20.79 9.99 3.41 -51.95
2523 ปูนซีเมนต์ พอร์ตแลนด์ 39.00 14.51 11.92 13.40 9.16 3.13 -31.64
23 สิ่งที่เหลือจากอุตสาหกรรมอาหาร 8.47 5.74 5.95 9.32 8.35 2.85 -10.41
55 เส้นใยสั้นสังเคราะห์ 20.99 25.01 16.37 10.82 7.46 2.55 -31.05
19 ธัญพืช 18.02 10.56 18.59 8.41 5.97 2.04 -29.01
72 & 73 เหล็กกล้า 13.69 18.71 29.34 12.09 5.57 1.90 -53.93
48 กระดาษและกระดาษแข็ง 9.48 9.26 5.50 5.05 5.22 1.78 3.37
อื่น ๆ 227.31 188.50 167.85 174.47 110.60 37.79 -36.61
รวม 497.57 437.94 366.34 397.85 292.68 100.00 -26.43

ที่มา: กรมศุลกากรศรีลังกา

2. ขอบเขตการขยายการส่งออกสินค้าไปยังประเทศไทย (Scope for further expansion of Sri Lanka’s Exports to Thailand)

อัญมณี เป็นสินค้าที่มียอดการส่งออกจากประเทศศรีลังกามาประเทศไทยมากที่สุด อาทิ ทับทิม พลอยแซฟไฟร์ และมรกต นอกจากนี้ยังมีการส่งออกยางรถยนต์คูชชั่นและชาดำ ทั้งนี้ ประเทศศรีลังกามีความสามารถในการจัดหาชาดำและอัญมณี เพื่อตอบสนองความต้องการจำนวนมากในประเทศไทย โดยการเพิ่มขึ้นความต้องการดังกล่าวและความสามารถในการจัดหาสินค้าได้อย่างยั่งยืนของประเทศศรีลังกาทำให้สินค้าดังต่อไปนี้มีแนวโน้มในการขยายการส่งออกมาขึ้นในประเทศไทย

  • ทูน่าพร้อมกิน หรือ ทูน่าดอง
  • แคโทดของทองแดง
  • แป้งปลา หรือ สัตว์จำพวกครัสเตเชียน
  • ปลาโอ หรือ ปลาโบนิโตแช่แข็ง
  • ชุดโทรศัพท์
  • ตัวนำ<ไฟฟ้า
  • กากอ้อยจากการกลั่นน้ำตาล
  • กุ้งสด
  • ถั่วลิสง (ที่ปราศจากการอบ)
  • ผลิตภัณฑ์ที่ทานได้จากสัตว์

3. ข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างศรีลังกา-ไทย (Proposed Sri Lanka-Thailand Free Trade Agreement SLTFTA)

  • ได้มีการประชุมอนุกรรมการด้านการค้าระหว่างประเทศศรีลังกาและประเทศไทย ครั้งที่ 2 ณ กรุงเทพมหานครฯ โดยทั้งสองประเทศต่างเห็นชอบในการจัดทำข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศศรีลังกาและประเทศไทย (SLTFTA) เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2560
  • การเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างศรีลังกา-ไทยถูกจัดขึ้นด้วยกันสามรอบ โดยรอบแรกถูกจัดขึ้นในวันที่ 13 กรกฎาคม 2561 ในกรุงโคลอมโบในขณะที่ ครั้งที่สองทางการรัฐบาลไทยจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ในวันที่19 20 กันยายน 2018 เพื่อเจรจาในเรื่องของสินค้าและขยายความเข้าใจในเรื่องของข้อตกการค้าเสรีร่วมกัน
  • การเจราจาในครั้งที่ 3 เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 9 และ 10 มกราคม 2023 ณ กรุงโคลอมโบ โดยมีการเจรจาในเรื่องของการค้าในภาคสินค้าและบริการ รวมไปถึงกฎเกณฑ์และกระบวนการของภาษี ตลอดจนการอำนวยความสะดวกในการด้านการค้าและความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ

4. การประชุมคณะกรรมการร่วมระหว่างศรีลังกา-ไทย (Thailand – Sri Lanka Joint Commission)

ในปี 2013 มีการประชุมคณะกรรมการร่วมระหว่างประเทศศรีลังกากับประเทศไทยครั้งที่สาม ณ กรุงโคลอมโบ โดยในครั้งที่ 4 เป็นการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งถูกจัดขึ้นโดยรัฐบาลไทย

5. หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจระหว่างศรีลังกา-ไทย (Strategic Economic Partnership between Sri Lanka and Thailand)

สืบเนื่องการเยือนอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยระหว่างวันที่ 12-13 กรกฎาคม 2018 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจร่วมกันระหว่างศรีลังกา-ไทยในแง่ของการเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจ

ทั้งนี้ เพื่อการดำเนินการเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพของทั้งสองประเทศ จึงได้มีการจัดทำแผนงานด้านยุทธ์ศาสตร์ทางเศรษฐกิจร่วมกันในการธุรกิจและสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ รวมถึงนโยบายและการจัดลำความสำคัญทางเศรษฐกิจ โดยทั้งสองประเทศต่างเห็นชอบร่วมกันใน 10 ความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่สำคัญ อันประกอบไปด้วย การลงทุน โครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตร การประมง อัญมณีและเครื่องประดับ การท่องเที่ยว วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ความร่วมมือทางการเงิน อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ และการพัฒนาเทคโนโลยี

การประชุมคณะอนุกรรมการด้านการค้าระหว่างศรีลังกาและไทย ครั้งที่ 4 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2565

6. การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในศรีลังกา (Application of the Sufficiency Economic Philosophy (SEP) in Sri Lanka)

ในช่วงเยือนประเทศศรีลังกาของนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา รัฐบาลศรีลังกาได้ยอมรัมโครงการทำงานร่วมกันในเรื่องของ “หนึ่งหมู่บ้าน หนึ่งผลิตภัณฑ์” (OVOP) โดยทำงานร่วมกับกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ (TICA) ในการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้ในศรีลังกา โดยโครงการนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากโครงการ “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” (OTOP) อันเป็นโครงการที่สนับสนุนการผลิตสินค้าท้องถิ่นของแต่ละตำบลในประเทศไทย มากไปกว่านั้น ยังมีโครงการอีกมากมายที่อยู่ภายใต้แนวคิดดังกล่าวในศรีลังกา อันได้รับการสนับสนุนจากทาง รัฐบาลไทย

สถิตเพิ่มเติมของการค้าทวิภาคีกับประเทศไทย (Additional Bilateral Trade Statistics – Thailand)

ปี อันดับ มูลค่า (ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) สัดส่วนต่อมูลค่าการส่งออกทั่วโลก อัตราการเติบโต
1977 43 1.65 0.24
2022 37 58.82 0.46 21.60

ที่มา: กรมศุลกากรศรีลังกา

หมายเหตุ: ในปี 1997 มูลค่าการส่งออกของศรีลังกาทั่วโลกอยู่ที่ 743 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยในปี 2022 มูลค่าการส่งออกเติบโตมากถึง 17 เท่า อันมีมูลค่าอยู่ที่ 12,743.64 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

สถิติเพิ่มเติมของการค้าทวิภาคี (Additional Bilateral Trade Statistics)

มูลค่าล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ปี มูลค่าการส่งออก ร้อยละของการส่งออกทั่วโลก การนำเข้า การค้ารวม ดุลการค้า
1995 18.34 0.48 114.25 132.59 -95.91
2000 77.20 1.46 160.22 237.43 -83.02
2001 36.87 0.78 147.57 184.44 -110.70
2002 14.15 0.30 146.06 160.21 -131.91
2003 11.14 0.23 145.93 157.07 -134.80
2004 18.50 0.34 151.86 170.35 -133.36
2005 26.57 0.43 168.17 194.75 -141.60
2006 37.43 0.55 202.95 240.38 -165.52
2007 46.76 0.61 230.74 277.50 -183.99
2008 77.65 0.95 297.94 375.58 -220.29
2009 62.79 0.88 270.47 333.25 -207.68
2010 84.05 1.01 315.93 399.98 -231.88
2011 75.67 0.76 491.05 566.72 -415.38
2012 70.37 0.75 460.21 530.58 -389.84
2013 56.54 0.57 428.02 484.55 -371.48
2014 57.02 0.50 462.02 519.04 -405.01
2015 33.51 0.36 497.75 531.26 -464.23
2016 35.27 0.34 514.80 550.08 -479.53
2017 52.59 0.46 518.54 571.13 -465.96
2018 44.55 0.38 497.57 542.13 -453.02
2019 97.44 0.83 437.94 535.38 -340.50
2020 37.58 0.38 366.34 403.92 -328.76
2021 51.61 0.42 397.85 449.46 -346.24
2022 58.82 0.46 292.68 351.50 -233.86

ที่มา: กรมศุลกากรศรีลังกา / แผนที่การค้า

สถิติเพิ่มเติมของการค้าทวิภาคี (Additional Bilateral Trade Statistics)

จำนวนโอกาสการฝึกอบรมต่างประเทศที่ได้รับจากประเทศไทยระหว่างปี 2558 – 2562

 

ผู้มอบ

2015 2016 2017 2018 2019
ระยะสั้น ระยะยาว ระยะสั้น ระยะยาว ระยะสั้น ระยะยาว ระยะสั้น ระยะยาว ระยะสั้น ระยะยาว
ไทย 19 2 16 7 25 2 21 0 17 2

จำนวนของโอกาสการฝึกงานที่ได้รับจากประเทศไทย ระหว่างปี 2023 (Number of Foreign Training Opportunities received from Thailand in 2023)

จำนวนของโครงการ จำนวนการสมัคร จำนวนที่ได้รับเลือก
ผู้มอบ ระยะสั้น ระยะยาว ระยะสั้น ระยะยาว ระยะสั้น ระยะยาว
ไทย 11 19 24 0 24 0

ในปี 2023 กรมความร่วมมือระหว่างประเทศของประเทศไทยเสนอทุนให้รัฐบาลศรีลังกา ในหัวข้อเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สาธารณสุข ความมั่นคงทางเกษตรกรรมและอาหาร การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและประเด็นสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจชีวภาพ และเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

แผนการปฏิบัติ 2 ปี ระหว่างศรีลังกากับไทย (2023 – 2024) (2-year Implementation Plan between Sri Lanka and Thailand (2023-2024)

กรมความร่วมมือระหว่างประเทศได้ยกร่างแผนปฏิบัติระหว่างประเทศศรีลังกากับประเทศไทย เพื่อที่จะส่งเสริม ความร่วมมือในการพัฒนาระยะยาวระหว่างทั้งสองประเทศ โดยมีทั้งหมด 6 โครงการที่อยู่ภายใต้แผนปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

โครงการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ข้อเสนอแนะจากหน่วยงานที่ปฏิบัติโครงการ
01 โครงการการท่องเที่ยวโดยชุมชนของหมู่บ้านวัตถุปุระ เมืองพุทธาราม
  • กระทรวงสตรี เด็ก และ
    การเสริมพลังทางสังคม
  • กรมการพัฒนาสมุธิ

แผนการปฏิบัติ 2 ปี ได้รวมงบประมาณสำหรับโครงการที่ได้รับการเสนอจากกรมการพัฒนาสมุธิ

โดยเป็นโครงการที่เสนอจะขยายไปอีก 10 หมู่บ้านในเมือง
พุทธาราม

02 โครงการพัฒนาหนึ่งหมู่บ้าน
หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OVOP)
  • กระทรวงอุตสาหกรรม
  • สภาหัตถกรรมแห่งชาติ

สภาหัตถกรรมแห่งชาติ เสนอ 3 โครงการ ได้แก่

  • การพัฒนาหมู่บ้านไม้ไผ่ในยาติยานโตตา
  • การพัฒนาหมู่บ้านปอในคาลาสิริกามา
  • การพัฒนาหมู่บ้านไม้ในนันนาปุระวะ
03 การฝึกอบรมในเรื่องการเพาะพันธุ์
ปลาสวยงาม
  • กระทรวงการประมง
  • กรมการพัฒนาการเพาะพันธุ์พืชและสัตว์น้ำ
การฝึกอบรมในเรื่องเพาะพันธุ์ปลายสวยงามเป็นแนวคิดที่ถูกเสนอโดยกรมการพัฒนาการเพาะพันธุ์พืชและสัตว์น้ำ
04 โครงการฟื้นฟูช้างและสวัสดิการ กระทรวงการต่างประเทศ
05 หลักสูตรอบรมนานาชาติประจำปี กรมทรัพยากรภายนอก กรมทรัพยากรภายนอก
หวังที่จะปรึกษาในรายละเอียดเกี่ยวกับทุน
06 หลักสูตรบัณฑิตศึกษานานาชาติ กรมทรัพยากรภายนอก

 

โอกาสการทำงานสำหรับคนศรีลังกา (Employment opportunities for Sri Lankans)

ในช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 กระทรวงแรงงานรายงานว่ามีแรงงานมีฝีมือชาวศรีลังกาประมาณ 300 คนในประเทศไทย ซึ่งอยู่ในภาคส่วนการจัดการ การผลิต การสอน และการบริการด้านสถาปัตยกรรม

โดยในปัจจุบัน จำนวนชาวศรีลังกาที่ลงทะเบียนกับสถานทูตมีอยู่ที่ 176 คน ซึ่งมีจำนวน 153 คน จากทั้งหมดทำงานในประเทศไทย ทั้งนี้จำนวนนักศึกษาศรีลังกาในประเทศที่ลงทะเบียนมีอยู่ประมาณ 60 คน (สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย 25 คน มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก 6 คน สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 15 คน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 6 คน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 4 คน มหาวิทยาลัยรังสิต 2 คน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 1 คน และมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 1 คน)

ทั้งนี้ เศรษฐกิจของประเทศไทยกำลังค่อย ๆ ฟื้นตัวจากผลกระทบของการแพร่ระบาดโควิด-19 ทว่าในสถานการณ์เช่นนี้ ปลัดกระทรวงฯ ตกลงที่จะให้การสนับสนุนทางด้านโอกาสในการจ้างงานสำหรับลูกจ้างภาครัฐในประเทศศรีลังกา และร้องขอให้ส่งต่อประวัติย่อของผู้สมัครที่มีศักยภาพและมีความต้องการทำงานในประเทศไทย เพื่อที่จะดำเนินการติดต่อกับนายจ้างไทยในการคัดเลือกผู้สมัครต่อไป