ข่าวประชาสัมพันธ์
เอกอัครราชทูตศรีลังกาประจำประเทศไทยและผู้แทนถาวรในเอสแคปกล่าวถ้อยแถลง ใน การประชุมสุดยอดด้านนโยบายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ครั้งที่ 1 ณ กรุงนิวเดลี
Sri Lankan School Chess Players Shine at the 18th Asian School Chess Championships in Bangkok
Sri Lankan students showcased their exceptional chess skills at the 18th Asian School Chess Championships, held from 1st to 11th December 2024 in Bangkok, Thailand. The event, co-organized by the Thailand Chess Association under the auspices of the Asian Chess Federation (ACF) and the International Chess Federation (FIDE), saw participation from 32 countries across Asia.
Sri Lankan Automobile Component Manufacturers Explore Opportunities in Thailand
A 12-member delegation of Sri Lankan automobile component manufacturers successfully concluded a week-long exposure visit to Bangkok from 30th November to 6th December 2024. The visit was jointly organized by the Embassy and Permanent Mission of Sri Lanka in Bangkok, the Sri Lanka Export Development Board and the Thai-Sri Lanka Chamber of Commerce. Its primary objective was to enhance the delegation’s understanding of Thailand’s advanced automotive sector and to foster meaningful business collaborations between the two countries.
เมื่อเร็วๆ นี้ ฯพณฯ วี เอ ชามินดา ไอ โคโลนเน่ เอกอัครราชทูตศรีลังกาประจำประเทศไทยและผู้แทนถาวรในคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific) (เอสแคป) ได้กล่าวถ้อยแถลงในพิธีเปิด การประชุมสุดยอดด้านนโยบายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ครั้งที่ 1 ณ ศูนย์การประชุมด้านถิ่นที่อยู่ของพืชและสัตว์ของอินเดีย (India Habitat Centre) กรุงนิวเดลี ทั้งนี้ เป็นไปตามคำเชิญของสภาวิจัยด้านความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศของอินเดีย (Indian Council for Research on International Economic Relations) ซึ่งการประชุมดังกล่าวจัดขึ้นโดยความร่วมมือของสภาวิจัยด้านความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศของอินเดียและคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียใต้และเอเชียตะวันตกเฉียงใต้
สภาวิจัยด้านความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศของอินเดียเป็นหน่วยงานด้านคลังสมองทางเศรษฐกิจที่สำคัญที่จัดตั้งขึ้นในปี 2524 โดยการประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นสำหรับผู้กำหนดนโยบายและผู้เชี่ยวชาญที่สำคัญ และเป็นการเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือ รวมทั้งเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินงานที่เป็นเลิศระหว่างกัน
เอกอัครราชทูตศรีลังกาประจำประเทศไทยชี้ให้เห็นว่า ภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกเป็นที่อยู่ของประชากรร้อยละ 60 ของประชากรโลกที่มีภูมิประเทศ เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมที่หลากหลาย ความก้าวหน้าทางด้านดิจิทัลนับจากพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ จนกระทั่งการเงินดิจิทัล ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้เป็นอย่างมากในภูมิภาคนี้ ซึ่งถือว่าเป็นอุปสรรคสำคัญของการพัฒนาที่เท่าเทียมกัน โดยผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีจำนวนร้อยละ 64 ซึ่งมีมากกว่าผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเป็นจำนวนเท่ากับ 1,500 ล้านคน
เอกอัครราชทูตศรีลังกาประจำประเทศไทยยังได้เน้นย้ำว่า เศรษฐกิจดิจิทัลในประเทศที่พัฒนาแล้วได้มีส่วนเสริมสร้างโอกาสการเติบโตทางเศรษฐกิจได้ถึงประมาณร้อยละ 40 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ขณะที่การมีส่วนร่วมพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศศรีลังกาในปัจจุบันมีส่วนส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจได้เพียงร้อยละ 5 (หรือประมาณ 3,700 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ) เป็นผลให้รัฐบาลของประเทศศรีลังกาประกาศวิสัยทัศน์เปลี่ยนแปลงประเทศเข้าสู่สังคมดิจิทัลอย่างยั่งยืนด้วยการยกระดับการใช้เทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้า โดยการนำเสนอแผนงานเร่งรัดการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy Transformation Acceleration Program – DIGIECON 2030) ซึ่งมีการเปิดตัวแผนงานในเดือนพฤศจิกายน 2566 โดยจะใช้เวลาในการดำเนินการตามแผนงาน 7 ปี ทั้งนี้ คาดหมายว่า ประเทศศรีลังกาจะมีรายได้จากการเปลี่ยนประเทศเป็นเศรษฐกิจดิจิทัลในปี 2573 เป็นเงินจำนวน 15,000 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ
เอกอัครราชทูตศรีลังกาประจำประเทศไทยกล่าวเพิ่มเติมว่า ยุทธศาสตร์ชาติทางด้านดิจิทัลของประเทศศรีลังกาในปี 2573 จะช่วยสนับสนุนการเสริมสร้างเสาหลักสำคัญที่เกี่ยวกับภาคเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) ซึ่งการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติทางด้านนี้จะช่วยให้สามารถเร่งรัดการพัฒนาประเทศเข้าสู่การเป็นประเทศพัฒนาแล้วในปี 2591 ภายใต้ยุทธศาสตร์นี้ ประเทศศรีลังกาจะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลในด้านต่างๆ ได้แก่ การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจเพื่อที่จะช่วยขับเคลื่อนการส่งออกและการหารายได้จากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ การสร้างงานที่มีรายได้ค่อนข้างสูงสำหรับเยาวชน สตรี และชาวชนบท และการให้บริการสาธารณะที่น่าเชื่อถือและเป็นธรรมกับทุกคนและทุกสถานที่ ทั้งนี้ กรอบการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์นี้จะมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับด้านต่างๆ ได้แก่ การเชื่อมต่อผ่านโครงข่ายสื่อสารความเร็วสูง (Broadband connectivity) ระบบโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล (Digital infrastructure) การทำธุรกรรมดิจิทัล (Digital transactions) การป้องกันภัยทางดิจิทัล (Digital safeguards) อุตสาหกรรมดิจิทัล งานอาชีพ และทักษะฝีมือ (Digital industry, jobs and skills) และการเร่งผลักดันให้มีการแปลงข้อมูลเป็นรูปแบบดิจิทัล (Acceleration of digitization) ซึ่งในปัจจุบันประเทศศรีลังกามีอัตราการเติบโตของการเป็นเศรษฐกิจดิจิทัลอยู่ที่ร้อยละ 4.3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ทั้งนี้ หากสามารถเพิ่มอัตราการเติบโตในส่วนนี้ให้ได้ถึงร้อยละ 20 จะมีส่วนช่วยขับเคลื่อนการเป็นประเทศเศรษฐกิจดิจิทัลได้เร็วขึ้น ดังนั้น ประเทศศรีลังกาจึงมีการจัดสรรงบประมาณในปี 2566 จำนวน 3,000 ล้านรูปี เพื่อดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเป็นเศรษฐกิจดิจิทัล
ในเรื่องนี้ เอกอัครราชทูตศรีลังกาประจำประเทศไทยได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า กระทรวงเทคโนโลยีของศรีลังกามีบทบาทสำคัญในการเป็นหัวหอกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลในระหว่างการดำเนินการตามแผนงานเร่งรัดการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัลที่มีระยะเวลาดำเนินการ 7 ปี โดยการเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนที่กว้างขวางระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน การวางรากฐานที่จำเป็นของหน่วยงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของศรีลังกา การจัดตั้งศูนย์ปัญญาประดิษฐ์และนวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีแห่งชาติ (National Centre for Artificial Intelligence, Technological Innovation Council) และระบบเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (Universal Digital Identity Platform)
เอกอัครราชทูตศรีลังกาประจำประเทศไทยกล่าวว่า ประเทศศรีลังกาเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียใต้และเป็นประเทศลำดับสองในภูมิภาคเอเชีย (รองจากประเทศสิงคโปร์) ที่จะเป็นรัฐภาคีในการประชุมว่าด้วยการใช้การติดต่อสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ในสัญญาระหว่างประเทศที่กำหนดขึ้นโดยองค์การสหประชาชาติ (UN Electronic Communication Convention) ภายหลังจากการแก้ไขพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับที่ 25 ปี 2560 เพื่อเป็นหลักประกันทางด้านกฎหมายให้แก่ผู้ให้บริการทางด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญกับกฎหมายอื่นๆ ประกอบด้วย ได้แก่ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฉบับที่ 24 ปี 2550 พระราชบัญญัติทรัพย์สินทางปัญญา ฉบับที่ 36 ปี 2546 พระราชบัญญัติเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ฉบับที่ 27 ปี 2546 พระราชบัญญัติระบบการชำระเงินและการชำระหนี้ ฉบับที่ 28 ปี 2548 และพระราชบัญญัติการฉ้อโกงในอุปกรณ์การชำระเงิน ฉบับที่ 30 ปี 2549
นอกจากนี้ เอกอัครราชทูตศรีลังกาประจำประเทศไทยยังได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการดำเนินงานโครงการต่างๆ อาทิ การเสริมสร้างสมรรถนะทางด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสตรีที่มีบทบาทนำในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในภูมิภาคเอเชียใต้ (ซึ่งดำเนินการโดยคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียใต้และเอเชียตะวันตกเฉียงใต้) โครงการหนึ่งหมู่บ้าน หนึ่งผลิตภัณฑ์ในประเทศศรีลังกา (ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับแรงบันดาลใจจากโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ของไทย) และการปรับเปลี่ยนธุรกิจเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงจากเทคโนโลยีดิจิทัลโดยอาศัยความร่วมมือแบบ 3 ฝ่ายและความร่วมมือในกรอบใต้-ใต้ ทั้งนี้ จะเป็นโอกาสการเสริมสร้างการทำงานร่วมกัน การพัฒนาความเชี่ยวชาญ การส่งเสริมความร่วมมือในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร และการสนับสนุนนโยบายด้านการปรับปรุงมาตรฐานในพื้นที่ที่แตกต่างกัน
ในระหว่างพิธีเปิดการประชุม มีบุคคลที่ได้รับเชิญให้มากล่าวถ้อยแถลงอาทิ 1) นายปราโมทย์ ภาสิน ประธานอำนวยการการจัดประชุมสุดยอดด้านนโยบายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ครั้งที่ 1 2) นายซานโตช กุมาร์ ซาลังกี เลขาธิการฝ่ายบริหารและอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศในสังกัดกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมของอินเดีย และ 3) นายเช รธา เลขาธิการแห่งรัฐ กระทรวงพาณิชย์กัมพูชา
นอกจากนี้ ยังมีแขกผู้มีเกียรติที่ได้กล่าวในพิธีเปิดการประชุมอีก 2 คน ได้แก่ 1) นายมิกิโกะ ทานากะ ประธานร่วมและกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียใต้และเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ 2) ศาสตราจารย์ ดร.อาภิตา มุกเคอร์จี ผู้แทนระดับสูงสภาวิจัยด้านความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศของอินเดีย ส่วน 3) ดร. ดีภัค มิชรา กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สภาวิจัยด้านความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศของอินเดีย เป็นผู้กล่าวแสดงความขอบคุณผู้จัดงาน
ในการดำเนินการอภิปรายกลุ่มมีการจัดแบ่งเป็น 4 กลุ่มตามหัวข้อย่อย ได้แก่ 1) การอำนวยความสะดวกทางด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนให้แก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Facilitating a Robust Framework for Cross-Border E-Commerce to enable MSMEs) 2) การประสานสัมพันธ์กับผู้กำหนดนโยบายทางด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจและการส่งออก: การสร้างความมั่นใจทางด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในยุคของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Interaction with Policymakers on E-commerce an enabler from Growth and Exports: Ensuring Consumer Protection in the Age of E-commerce) 3) การค้าผ่านทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และการไหลเวียนของข้อมูลข้ามพรมแดน (E-commerce Trade and Cross-border Data Flows) 4) การอภิปรายเชิงสร้างสรรค์ในประเด็นด้านเทคโนโลยีการชำระเงินสำหรับเทคโนโลยีล่าสุดที่เกี่ยวกับการชำระเงินในองค์กรภูมิภาคเอเชีย-แปซฟิกว่าด้วยการรับรองระบบงาน โดยสื่อทางสังคมจะมีส่วนช่วยสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างไร (Interactive Discussions on Emerging Payment Technologies in APAC: How social media is transforming E-commerce)
ในระหว่างการอภิปรายกลุ่ม มีผู้เข้าร่วมประชุมที่ได้แลกเปลี่ยนความเห็นและประสบการณ์หลายท่าน ได้แก่ 1) อดีตเลขาธิการของรัฐกรณาฏกะ 2) ประธานและผู้ก่อตั้งแพล็ตฟอร์มระดับโลกทางออนไลน์สำหรับสมาคมผู้ประกอบการสตรี 3) นายรัทนา ประภา ตัวแทนของแบรนด์ระดับโลก 4) นายสุมันตา ชอทหุรี อดีตเลขาธิการของรัฐและผู้เชี่ยวชาญด้านการค้าระหว่างประเทศ 5) ดร.ราจัน สุเดช รองหัวหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินงานในคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียใต้และเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ 6) นายโลเกช กุมาร์ ผู้จัดการทั่วไปของธนาคารเพื่อการนำเข้าและส่งออกของอินเดีย 7) ดร.ดองฮุน ปาร์ค ที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย 8) ดร.ฤภา จันดา ผู้อำนวยการด้านการค้า การลงทุน และนวัตกรรมของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก 9) อดีตกรรมการผู้จัดการของธนาคารภาราติยา รีเสริฟ และ 10) บุคคลที่มีชื่อเสียงทางด้านกฎหมายระหว่างประเทศและการค้า ความมั่นคงทางไซเบอร์ สื่อทางสังคม นวัตกรรม เศรษฐกิจดิจิทัล และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
นอกจากนี้ ยังมีผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ของไทยและอินเดียร่วมกล่าวถ้อยแถลงด้วย ได้แก่ 1) นางสาวพริ้วแพร ชุมรุม ประธานคณะเจรจาความตกลงว่าด้วยกรอบการดำเนินงานเศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียน และ 2) ดร.ฮินดอล เซ็งกรุ๊ปตา ประธานด้านยุทธศาสตร์และโครงการส่งเสริมการลงทุนในอินเดีย สังกัดกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมและการค้าภายในของอินเดีย
สถานเอกอัครราชทูตศรีลังกาประจำประเทศไทย
กรุงเทพมหานคร
09. พฤษภาคม 2567
Sri Lankan School Chess Players Shine at the 18th Asian School Chess Championships in Bangkok
Sri Lankan students showcased their exceptional chess skills at the 18th Asian School Chess Championships, held from 1st to 11th December 2024 in Bangkok, Thailand. The event, co-organized by the Thailand Chess Association under the auspices of the Asian Chess Federation (ACF) and the International Chess Federation (FIDE), saw participation from 32 countries across Asia.
Sri Lankan Automobile Component Manufacturers Explore Opportunities in Thailand
A 12-member delegation of Sri Lankan automobile component manufacturers successfully concluded a week-long exposure visit to Bangkok from 30th November to 6th December 2024. The visit was jointly organized by the Embassy and Permanent Mission of Sri Lanka in Bangkok, the Sri Lanka Export Development Board and the Thai-Sri Lanka Chamber of Commerce. Its primary objective was to enhance the delegation’s understanding of Thailand’s advanced automotive sector and to foster meaningful business collaborations between the two countries.