ශ්‍රී ලංකා ප්‍රජාතාන්ත්‍රික සමාජවාදී ජනරජයේ තානාපති සහ නිත්‍ය නියෝජිත කාර්යාලය, බැංකොක්, තායිලන්ත රාජධානිය

இலங்கை ஜனநாயக சோசலிச குடியரசின் தூதரகம் மற்றும் நிரந்தர வதிவிடம், பாங்கொக், தாய்லாந்து இராச்சியம்

The Embassy and Permanent Mission of the Democratic Socialist Republic of Sri Lanka
Bangkok, Kingdom of Thailand

Accredited to the Kingdom of Cambodia, Lao People’s Democratic Republic and
United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific (UNESCAP)

เลือกหน้า

ข่าวประชาสัมพันธ์

Home 5 Press Releases 5 เอกอัครราชทูตศรีลังกาประจำประเทศไทยทำหน้าที่ประธานสมัยประชุม ในระหว่างประชุมคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก ครั้งที่ 80 และการเปิดตัวสิ่งพิมพ์เกี่ยวกับความร่วมมือทางวิชาการ

เอกอัครราชทูตศรีลังกาประจำประเทศไทยทำหน้าที่ประธานสมัยประชุม ในระหว่างประชุมคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก ครั้งที่ 80 และการเปิดตัวสิ่งพิมพ์เกี่ยวกับความร่วมมือทางวิชาการ

เอกอัครราชทูตศรีลังกาประจำประเทศไทยทำหน้าที่ประธานสมัยประชุม ในระหว่างประชุมคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก ครั้งที่ 80 และการเปิดตัวสิ่งพิมพ์เกี่ยวกับความร่วมมือทางวิชาการ

ฯพณฯ ซี เอ ชามินดา ไอ โคโลนเน่ เอกอัครราชทูตศรีลังกาประจำประเทศไทยและผู้แทนถาวรในคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific) (เอสแคป) เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนศรีลังกาเข้าร่วมประชุมคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก ครั้งที่ 80 ในระหว่างวันที่ 22-26 เมษายน 2567 ณ กรุงเทพฯ ซึ่งการประชุมครั้งนี้กำหนดหัวข้อของการประชุมคือ “การใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมทางด้านดิจิทัลเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (Leveraging digital innovation for sustainable development in Asia and the Pacific)” โดย ฯพณฯ ซี เอ ชามินดา ไอ โคโลนเน่ ได้รับคัดเลือกให้ทำหน้าที่รองประธานของการประชุมเอสแคป ครั้งที่ 80

นางอามิดา ซาลเซีย อลิสจาภานา รองเลขาธิการองค์การสหประชาชาติและเลขาธิการบริหารเอสแคป ได้กล่าวเปิดการประชุม โดยระบุว่าการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาปรับปรุงประสิทธิภาพ และสร้างโอกาสให้แก่ธุรกิจอย่างเหมาะสมและอย่างชาญฉลาด โดยมีการนำแนวทางดำเนินการที่ใช้ร่วมกันและการประสานความร่วมมืออย่างมีธรรมาภิบาล จะช่วยวางรากฐานสำหรับการดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนในปี 2030

นายเศรษฐา ทวีสินนายกรัฐมนตรีของไทย ได้กล่าวถ้อยแถลงต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมในฐานะประเทศเจ้าภาพ โดยมีเนื้อหาสำคัญว่า ประเทศไทยมีการดำเนินการในข้อริเริ่มสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงไปสู่การมีระบบการเงินและเศรษฐกิจดิจิทัล และการป้องกันความเสี่ยงอันเกิดจากการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการเปลี่ยนแปลงการทำธุรกิจ อาทิ อาชญากรรมไซเบอร์ นอกจากนี้ ยังเน้นย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อให้ประชาชนในภูมิภาคเกิดความปลอดภัย เป็นธรรม และได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล

เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2567 เอกอัครราชทูตศรีลังกาประจำประเทศไทยทำหน้าที่ประธานสมัยประชุมของการประชุมเอสแคป ครั้งที่ 80 ในหัวข้อ “การทบทวนการดำเนินงานตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับเอเชียและแปซิฟิกในปี 2030 และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างย่อยของคณะกรรมาธิการด้านเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (Review of the Implementation of the 2030 Agenda for Sustainable Development in Asia and the Pacific and Issues Pertinent to the Subsidiary Structure of the Commission)” ซึ่งในหัวข้อนี้ นายชีค ฮาสินา นายกรัฐมนตรีของบังกลาเทศ ได้กล่าวถ้อยแถลงกับที่ประชุมโดยมีเนื้อหาสำคัญระบุว่า ประเทศบังกลาเทศได้ประกาศวิสัยทัศน์ใหม่ที่จะเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจฐานความรู้ (Smart Bangladesh) ในปี 2041 และเสนอว่า เมื่อภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกมีการเชื่อมโยงกันและมีการรวมตัวด้านความหลากหลายของกลุ่มคนมากขึ้น จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนทางด้านโอกาสด้วยการส่งเสริมทางด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การค้าดิจิทัล และการเพิ่มการให้บริการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

ในสมัยประชุมนี้ผู้เข้าร่วมประชุมที่เป็นผู้แทนจาก 60 ประเทศ เป็นจำนวนมากกว่า 800 คน โดยมีผู้แทนสำคัญในระดับประเทศเข้าร่วมประชุม อาทิ นายกรัฐมนตรีกัมพูชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศมองโกเลีย ประธานการประชุมระดับรัฐมนตรีด้านการประสานงานทางเศรษฐกิจสมัยประชุมที่ 78 ของประเทศอินโดนีเซีย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของประเทศบังกลาเทศ ผู้ช่วยรัฐมนตรีด้านการพัฒนาดิจิทัล นวัตกรรม การบินและอวกาศของประเทศคาซัคสถาน รัฐมนตรีด้านมาตรวิทยา พลังงาน ข้อมูลข่าวสาร การจัดการภัยพิบัติ สิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการสื่อสารของประเทศตองกา และรัฐมนตรีช่วยว่าการพลังงานและเศรษฐกิจของประเทศเติร์กมินิสถาน

ในส่วนของคณะผู้แทนศรีลังกา ได้มีการนำเสนอข้อความในวิดีโอในหัวข้อ “การใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมทางด้านดิจิทัลเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (Leveraging digital innovation for sustainable development in Asia and the Pacific)” โดยเอกอัครราชทูตศรีลังกาประจำประเทศไทยได้ร่วมแสดงข้อคิดเห็นในการประชุมโต๊ะกลมสำหรับผุ้แทนระดับสูงในหัวข้อ “นวัตกรรมทางด้านดิจิทัลเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Digital innovations for achieving the Sustainable Development Goals)

ในระหว่างการประชุมเอสแคป ครั้งที่ 80 ผุ้แทนรัฐบาลของประเทศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกได้เห็นชอบกับข้อมติที่จะช่วยส่งเสริมให้ประเทศต่างๆ ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดในการดำเนินการส่งเสริมการวิจัย การสนทนาแลกเปลี่ยนความเห็น การดำเนินโครงการความร่วมมือทางวิชาการ การพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลและข้อริเริ่มทางด้านเศรษฐกิจดิจิทัล ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ของกลุ่มประชากรและประเทศที่มีความเสี่ยง นอกจากนี้ ยังเห็นชอบกับข้อมติอื่นๆ ได้แก่ การเชื่อมโยงด้านพลังงานอย่างยั่งยืน การเร่งรัดดำเนินงานตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนในปี 2030 และการตอบสนองพันธะผูกพันอื่นในระดับโลก

เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2567 สถานเอกอัครราชทูตศรีลังกาประจำประเทศไทยร่วมกับเอสแคปได้จัดกิจกรรมย่อยเพื่อเปิดตัวสิ่งพิมพ์ในหัวข้อ “ความร่วมมือกับผลกระทบ: การเปิดตัวความร่วมมือทางวิชาการ โดยเน้นผลการดำเนินงานในปี 2022-2023 (Cooperation with Impact-Launch of the Technical Cooperation: Highlights 2022-2023)” ซึ่งในระหว่างการเปิดตัวสิ่งพิมพ์นี้ นางอามิดา ซาลเซีย อลิสจาภานา เลขาธิการบริหารเอสแคป กล่าวว่า ประเทศศรีลังกาเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความร่วมมือแบบใต้-ใต้ และความร่วมมือแบบ 3 ฝ่ายในภูมิภาค และยืนยันที่จะดำเนินการจัดหลักสูตรอบรมตามที่เคยแจ้งในการประชุมคณะกรรมการระดับสูงว่าด้วยความร่วมมือแบบใต้-ใต้ โดยเชื่อมั่นว่า เอสแคปจะยังคงยินดีให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่องแก่ประเทศต่างๆ ในภูมิภาค รวมทั้ง ประเทศศรีลังกา

นอกจากนี้ ยังมีการดำเนินกิจกรรมอื่นในระหว่างการเปิดตัวสิ่งพิมพ์ อาทิ การอภิปรายกลุ่ม การเผยแพร่ผลงานความสำเร็จและความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ และการแสดงตัวอย่างโครงการความร่วมมือทางวิชาการที่มีการดำเนินงานในประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ซึ่งได้แก่ การศึกษาแบบจำลองทางเศรษฐกิจมหภาคของเอสแคปและการสนับสนุนโครงการส่งเสริมการเติบโตสีเขียวระดับโลก (Global Green Growth) สำหรับประเทศศรีลังกา เพื่อให้ประเทศมีความเข้มแข็งทางด้านการเงินอย่างยั่งยืน (Sustainable finance)

เอกอัครราชทูตศรีลังกาประจำประเทศไทยได้กล่าวถ้อยแถลงในระหว่างเปิดตัวสิ่งพิมพ์ว่า ประเทศศรีลังกาเป็นสมาชิกของเอสแคปเมื่อปี 1954 และรู้สึกขอบคุณอย่างจริงใจที่เอสแคปให้การสนับสนุนด้านการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา โดยเฉพาะในช่วงเวลาวิกฤตของประเทศ ประเทศศรีลังกายังเป็นประเทศที่ได้รับประโยชน์จากการดำเนินกิจกรรมของเอสแคปในปี 2565-2566 ด้วย ทั้งนี้ ผู้แทนที่เข้าร่วมกิจกรรมย่อย ได้แก่ เอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรของประเทศสมาชิก องค์กรความร่วมมือเพื่อการพัฒนาและองค์กรความร่วมมือด้านวิชาการ องค์กรสหประชาชาติ องค์กรระหว่างรัฐบาล และองค์กรภาคเอกชน

สถานเอกอัครราชทูตและคณะผู้แทนถาวรศรีลังกา
กรุงเทพมหานคร
07 พฤษภาคม 2567