ผู้แทนถาวรศรีลังกาประจำคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (UNESCAP) เอกอัครราชทูตศรีลังกาประจำประเทศไทย นางโกโลนเน อัปปุหามิลาเค จมินทะ อิโนกา โกโลนเน (H.E. Mrs. Colonne Appuhamillage Chaminda Inoka Colonne) มอบพระราชสาส์นตราตั้งต่อนางอาร์มิดา ซัลเซียะฮ์ อาลิสจะฮ์บานา (Mrs. Armida Salsiah Alisjahbana) เลขาธิการบริหารแห่งคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (UNESCAP) ในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2564 ณ สำนักงานเลขาธิการ UNESCAP กรุงเทพฯ หลังจากการประชุมเสมือนจริงในวันที่ 20 เมษายน 2564
พร้อมส่งมอบความปรารถนาดีอันอบอุ่นจากท่านประธานาธิบดี และนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศศรีลังกาถึงเลขาธิการบริหาร นางอาร์มิดา ซัลเซียะฮ์ อาลิสจะฮ์บานา (Mrs. Armida Salsiah Alisjahbana) โดยเอกอัครราชทูตศรีลังกาประจำประเทศไทยและผู้แทนถาวร นางโกโลนเน อัปปุหามิลาเค จมินทะ อิโนกา โกโลนเน (H.E. Mrs. Colonne Appuhamillage Chaminda Inoka Colonne) รับรองความร่วมมืออย่างเต็มที่และการสนับสนุนสำหรับความพยายามในอนาคตของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (UNESCAP) และกิจกรรมต่างๆ เพื่อพัฒนามาตุภูมิให้ดีขึ้น โดยหารือกับกระทรวงและหน่วยงานต่างๆ ในศรีลังกา อ่านเพิ่มเติม
การประชุมคณะรัฐมนตรีครั้งที่4 ว่าด้วยเรื่องของการคมนาคมของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (UNESCAP) ถูกจัดขึ้นแบบไฮบริดที่กรุงเทพ ในวันที่ 14-17 ธันวาคม 2564 ตามมาด้วยการเปิดตัวของรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมแห่งประเทศไทย นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ และเลขานุการบริหาร นางอาร์มิดา ซัลเซียะฮ์ อาลิสจะฮ์บานา (Mrs. Armida Salsiah Alisjahbana) แห่งคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (UNESCAP) เอกอัครราชทูตศรีลังกาประจำประเทศไทยและผู้แทนถาวรของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (UNESCAP) นางโกโลนเน อัปปุหามิลาเค จมินทะ อิโนกา โกโลนเน (H.E. Mrs. Colonne Appuhamillage Chaminda Inoka Colonne) เป็นประธานการประชุมรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2564 หลังจากได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในรองประธานสำนัก
Permanent Representative of Sri Lanka to the United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific (UNESCAP), Ambassador of Sri Lanka to Thailand, C. A. Chaminda I. Colonne presented Letters of Credence to the Executive Secretary Armida Salsiah Alisjahbana of UNESCAP on 26th November 2021 at the UNESCAP Secretariat in Bangkok, following her virtual meeting on 20 April 2021.
การประชุมทวิภาคีเสมือนจริงระหว่าง ศาสตราจารย์ พลเรือเอก รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ นายจายานาธ โคลอมบาจ (Jayanath Colombage) และนางอาร์มิดา ซัลเซียะฮ์ อาลิสจะฮ์บานา (Mrs. Armida Salsiah Alisjahbana) เลขานุการบริหาร แห่งคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (UNESCAP) ถูกจัดขึ้นในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2564 และหารือเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของศรีลังกา ในการประชุมระหว่างรัฐบาลที่กำลังจะมารถึง และด้านความร่วมมือเพิ่มเติมกับ UNESCAP
การประชุมวาระที่สามของคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจมหภาค การลดความยากจน และการจัดหาเงินทุนเพื่อการพัฒนาของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (UNESCAP) ถูกจัดประชุมเหมือนจริงที่กรุงเทพ ตั้งแต่วันที่ 20 – 22 ตุลาคม 2564 และร่วมหารือนโยบายเศรษฐกิจต่างๆ และกลยุทธ์ทางการเงินที่เป็นนวัตกรรมใหม่เพื่อเอาชนะความท้าทายที่หลากหลายในบริบทหลังโควิด-19
นายสุเรช ดี เดอ เมิล (Suresh D. de Mel) ประธานคณะกรรมการพัฒนาการส่งออกศรีลังกากล่าวเรื่องการค้าและการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ ในที่ประชุมการปรึกษาหารือระดับภูมิภาคเรื่องการควบคุมการค้าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2564
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการประชุม: https://www.unescap.org/events/2021/regional-consultation-harnessing-trade-faster-recovery-and-sustainable-development-wto
Intervention by Mr. Suresh D. de Mel, Chairman of EDB Sri Lanka at the session on ‘ Trade and Climate Change’ at the Regional Consultation on Harnessing Trade for Sustainable Development’ , on 08.09.2021
More information on the session: https://www.unescap.org/events/2021/regional-consultation-harnessing-trade-faster-recovery-and-sustainable-development-wto
เอกอัคราชทูตและผู้แทนถาวรศรีลังกา นางโกโลนเน อัปปุหามิลาเค จมินทะ อิโนกา โกโลนเน (H.E. Mrs. Colonne Appuhamillage Chaminda Inoka Colonne) ประจำคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (UNESCAP) เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาผู้แทนถาวร (ACPR) ครั้งที่ 394 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2564
ศรีลังกาเข้าร่วมการประชุมของคณะกรรมการกองลดความเสี่ยงภัยพิบัติสมัยที่7 (CDRR-7) ถูกจัดขึ้นเสมือนจริงในวันที่ 25 -27 สิงหาคม 2564 และ การประชุมครั้งที่5 ของคณะกรรมการที่ปรึกษาระหว่างรัฐบาล (ICC-25) ในโครงการการประยุกต์ใช้อวกาศระดับภูมิภาคเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (RESAP) ซึ่งการประชุมเสมือนจริงถูกจัดขึ้นในวันที่ 24-27 สิงหาคม 2564 โดยมีนาย Sanath Panawennage ผู้อำนวยการทั่วไปและซีอีโอของสถาบันเทคโนโลยีสมัยใหม่ Arthur C. Clarke กล่าวคำแถลงภายใต้วาระที่ 04 ของคณะกรรมกองลดความเสี่ยงสาธารณภัย (CDRR-7)
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสมัยที่ 7 ของคณะกรรมการกองลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ (CDRR-7):
เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการประชุมรัฐมนตรีคมนาคม ครั้งที่ 4 ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 14-17 ธันวาคม 2564 การประชุมระดับภูมิภาคจะจัดขึ้นเสมือนจริงในวันที่ 29-30 กรกฎาคม 2564 การประชุมระดับภูมิภาคเปิดโอกาสให้คณะผู้แทน ที่วางแผนจะเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาและตกลงในเอกสารผลลัพธ์ที่สำคัญของส่วนรัฐมนตรีที่วางแผนไว้ พร้อมทั้งให้คำแนะนำแก่สำนักเลขาธิการในเรื่องขององค์กรและสาระสำคัญอื่น ๆ ล่วงหน้าก่อนการประชุม นาย W.A.D.S.Gunasinghe อธิบดี (วางแผน) กระทรวงคมนาคมศรีลังกาถูกเลือกให้เป็นหนึ่งในรองประธานกรรมการ การประชุมเตรียมการระดับภูมิภาคสำหรับการประชุมรัฐมนตรีคมนาคม ครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 29-30 กรกฎาคม 2564 ข้อมูลเพิ่มเติมของการประชุม
เอกอัคราชทูตและผู้แทนถาวรศรีลังกา นางโกโลนเน อัปปุหามิลาเค จมินทะ อิโนกา โกโลนเน (H.E. Mrs. Colonne Appuhamillage Chaminda Inoka Colonne) เข้าร่วมการประชุมเสมือนจริงกับนายฮัมซา อาลี มาลิค (Hamza Ali Malik)
ผู้อำนวยการกองนโยบายเศรษฐกิจมหภาคและการเงินเพื่อการพัฒนาคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (UNESCAP) เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2564 และหารือเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมระดับสูงของศรีลังกาในการประชุมนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ครั้งที่ 3 การลดความยากจน และการจัดหาเงินทุนเพื่อการพัฒนา ซึ่งถูกจัดขึ้นในวันที่ 20-22 ตุลาคม 2564
การประชุมเชิงปฏิบัติการการให้คำปรึกษาระดับชาติเกี่ยวกับยุทธศาสตร์สำหรับการขนส่งสินค้าที่ยั่งยืนในศรีลังกา ถูกจัดขึ้นโดยคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (UNESCAP)
สถานทูตและผู้แทนถาวรศรีลังกาประจำประเทศไทย และกระทรวงการคมนาคมศรีลังกา เมื่อวันที่5 กรกฎาคม 2564 อ่านเพิ่มเติม
H.E. C.A.Chaminda I. Colonne, Ambassador and Permanent Representative of Sri Lanka to the UNESCAP virtually participated at the 394th session of the ACPR held on 10 June 2021.
เนื่องในโอกาสวันสากลเพื่อความหลากหลายทางวัฒนธรรมเพื่อการเสวนาและการพัฒนา ปี 2021 ข้อความจากเลขาธิการสหประชาชาติ อันโตนิโอ กูเตเรส (António Guterres)
พร้อมด้วยวีดิทัศน์ที่จัดทำโดยสถานเอกอัครราชทูตและคณะผู้แทนถาวรศรีลังกาประจำกรุงเทพฯ ในหัวข้อ “ศรีลังกาภูมิใจที่ได้ร่วมเฉลิมฉลอง ‘วันสากลแห่งการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ – 16 พฤษภาคม’ และ ‘วันสากลเพื่อความหลากหลายทางวัฒนธรรม – 21 พฤษภาคม’” ได้รับการเผยแพร่โดยสำนักเลขาธิการคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (UNESCAP) ในกรุงเทพฯ ท่ามกลางคณะกรรมการที่ปรึกษาผู้แทนถาวรและผู้แทนอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมายจากสมาชิกของคณะกรรมาธิการ (ACPR) ซึ่งประกอบด้วยรัฐสมาชิกและสมาชิกสมทบ
ศรีลังกาเรียกร้องให้มีความร่วมมือในระดับภูมิภาคที่แข็งแกร่งขึ้น เพื่อสร้างสิ่งที่ดีกว่าจากการแพร่ระบาดผ่านการส่งเสริมโอกาสทางการค้า การลงทุน และการจ้างงานจากต่างประเทศ ในการประชุม UNESCAP วาระที่ 77 ที่กรุงเทพฯ
การพูดในหัวข้อ ‘การสร้างให้ดีกว่าเดิมจากวิกฤตการณ์ ผ่านความร่วมมือระดับภูมิภาคในเอเชียและแปซิฟิก’ นายกรัฐมนตรี มหินทา ราชปักษา ในพิธีเปิดการประชุมวาระ 77 ของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (UNESCAP) ในการสรุปความสำเร็จของศรีลังกา แนวทางการควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และเรียกร้องให้มีการรื้อฟื้นความร่วมมือ “ใต้-ใต้” เพื่อฟื้นตัวจากการแพร่ระบาด การประชุมนี้จัดขึ้นในกรุงเทพฯ ตั้งแต่วันที่ 26 – 29 เมษายน 2555 อ่านเพิ่มเติม
รัฐมนตรีต่างประเทศกล่าวถ้อยแถลงประเทศศรีลังกาในการประชุมคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (UNESCAP) วาระที่ 77 เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2564
ผู้แทนถาวรศรีลังกาประจำ UNESCAP มอบหนังสือรับรอง
นางสมันตา เค. ชยสุริยะ (Mrs. Samantha K. Jayasuriya) มอบหนังสือรับรองแก่นางสาวอาร์มิดา ซัลเซียห์ อาลิสจาห์บานา (Armida Salsiah Alisjahbana) เลขาธิการบริหารคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (UNESCAP) ณ กรุงเทพฯ ในฐานะผู้แทนถาวรคนใหม่ของประเทศศรีลังกา เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เพิ่มเติม:
ผู้แทนถาวรศรีลังกากล่าวต่อคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (ACPR) ครั้งที่ 383 วันที่ 22 สิงหาคม 2562 เวลา 09.30-12.00 น.
นายประธานกรรมการ,
ท่านเลขาธิการบริหาร
เลขานุการคณะกรรมการ,
ผู้แทนถาวรผู้ทรงคุณวุฒิของประเทศสมาชิกและผู้แทน
ขอบคุณมากสำหรับการต้อนรับและการแนะนำอย่างอบอุ่น และดิฉันรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมงานกับทุกท่านในวันนี้ในการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาผู้แทนถาวร (ACPR) สมัยที่ 383 ของคณะกรรมาธิการ และต้องการแบ่งปันความคิดเบื้องต้นของดิฉันเกี่ยวกับวิธีการที่ศรีลังกาตั้งใจที่จะดำเนินงานต่อไปเพื่อมุ่งสู่ความพยายามร่วมกันของคณะกรรมาธิการ (แถลงการณ์ฉบับเต็ม)
ศรีลังกามีบทบาทอย่างแข็งขันในการทำงานของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP) และได้รับมอบหมายให้เป็นผู้นำให้กับการประชุมคณะกรรมการและคณะทำงานต่างๆ ในช่วงปี 2019/2020 ซึ่งภารกิจที่ได้รับมอบหมายได้มีส่วนช่วยเชิงรุกในหลายชุดการประชุม
คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจมหภาค การลดความยากจน และการจัดหาเงินทุนเพื่อการพัฒนา
นางสมันตา เค. ชยสุริยะ (Mrs. Samantha K. Jayasuriya) เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรได้รับเลือกเป็นรองประธาน การประชุมที่สองของคณะกรรมการว่าด้วยการลดความยากจนและการจัดหาเงินทุนเพื่อการพัฒนา (MPFD)ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 6-8 พฤศจิกายน 2562 ซึ่งคณะกรรมการได้หารือเกี่ยวกับแนวทางองค์รวมและบูรณาการที่สามารถอำนวยความสะดวกในการบูรณาการกระแสหลัก เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในการกำหนดนโยบายและส่งเสริมนโยบายเศรษฐกิจที่ครอบคลุมและยั่งยืน การพิจารณายังมุ่งเน้นไปที่ความสำคัญของสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยระบบภาษีในประเทศที่มีประสิทธิภาพและความร่วมมือด้านภาษีในภูมิภาคที่แข็งแกร่ง เพื่อเป็นเงินทุนสำหรับการลงทุนที่จำเป็นเพื่อเร่งความก้าวหน้าไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และยังมีการประชุมหารือเกี่ยวกับความต้องการพิเศษของโรคเสียชีวิตแบบฉับพลันในเด็กทารก หรือ Sudden Infant Death Syndrome (SIDS)
Open Ended Working Group of the Review of the Commission Structure
ในฐานะประธานคณะทำงานปลายเปิดของการทบทวนโครงสร้างคณะกรรมาธิการตั้งแต่เดือนธันวาคม 2562 ถึงเดือนมีนาคม 2563 ผู้แทนถาวรศรีลังกานำเสนอรายงานต่อคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (UNESCAP) ครั้งที่ 76 คณะทำงานเฉพาะกิจได้พิจารณาถึงแนวทางที่มีประสิทธิภาพในการปรับโครงสร้างการทำงานของคณะกรรมาธิการ ซึ่งสอดคล้องกับการทบทวนของการประชุมเวทีหารือระดับสูงทางการเมืองว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (High-Level Political Forum on Sustainable Development – HLPF) อีกเป้าหมายของการมีส่วนร่วมนี้ยังได้จัดการประชุมออนไลน์กับหนึ่งในประธานร่วมของกรอบคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Economic and Social Council ) เกี่ยวกับการปฏิรูป
การประชุมอภิปรายเอเชียแปซิฟิก เรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน ปีที่ 7 (Asia Pacific Forum on Sustainable Development – APFSD)
ศรีลังกาได้รับเลือกให้เป็นประธาน การประชุมอภิปรายเอเชียแปซิฟิก เรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน (APFSD) ปีที่ 7 ในเดือนพฤษภาคม 2563 และนำเสนอผลต่อ HLPF ประจำปี 2563 ที่นิวยอร์กในเดือนกรกฎาคม 2563 วาระประชุมเสมือนจริงครั้งแรกที่เกี่ยวข้องกับการแบ่งปันความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการและการทบทวนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals – SDGs) ระดับภูมิภาค เพิ่มเติม..
การประชุมครั้งที่ 6 ของคณะกรรมการพัฒนาสังคม
ศรีลังกาได้รับเลือกเป็น ประธานของ การประชุมครั้งที่ 6 ของคณะกรรมการการพัฒนาสังคม ในเดือนตุลาคม 2020 คณะกรรมการได้ใช้แผนปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระดับภูมิภาคด้านการคุ้มครองทางสังคมในเอเชียและแปซิฟิก และกรอบตัวบ่งชี้เอเชียแปซิฟิก เพื่อติดตามความคืบหน้าไปสู่ การดำเนินการตามแผนปฏิบัติการของการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยประชากรและการพัฒนา และข้อผูกพันที่มีอยู่ในปฏิญญารัฐมนตรีแห่งเอเชียและแปซิฟิกว่าด้วยประชากรและการพัฒนา เพิ่มเติม..
ศรีลังกาได้รับเลือกเข้าสู่ สภาปกครองของศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีแห่งเอเชียและแปซิฟิก (APCTT) ในช่วงปี 2563-2564
ศรีลังกาเข้าร่วมในการร่วมสนับสนุนมติทั้งสองประการที่ คณะกรรมาธิการ ครั้งที่ 76 ของ คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแฟซิฟิก (ESCAP) ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2563 ว่าด้วยความร่วมมือระดับภูมิภาค เพื่อจัดการกับผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดใหญ่และวิกฤตการณ์ในเอเชียและแปซิฟิก รวมถึงเสริมสร้างความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนของมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเล เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในเอเชียและแปซิฟิก
ด้วยความสัมพันธ์อันดีในการทำงานกับคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแฟซิฟิก (ESCAP) ศรีลังกาสามารถรับความเชี่ยวชาญทางด้านเทคนิคจากคณะกรรมาธิการชุดต่างๆ ของ ESCAP ได้ เช่น มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มุมมองเกี่ยวกับคณะทำงานเพื่อศึกษาสถานะปัจจุบันของการดำเนินการและความคืบหน้าที่เกี่ยวข้อง ไปยังวาระปี 2020 สำหรับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ในศรีลังกา ผู้เชี่ยวชาญของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแฟซิฟิก (ESCAP) เยี่ยมชมแผนกสำรวจ สำมะโนและสถิติของศรีลังกา เพื่อวิเคราะห์ช่องว่างของกำลังการผลิต และคาดว่าจะเริ่มการทบทวนสถิติแห่งชาติได้ในปี พ.ศ. 2563 แล้วยังมีการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public Private Partnership – PPP) ของกระทรวงการคลังศรีลังกา ซึ่งเป็นอีกด้านหนึ่งของงานที่กำลังดำเนินการอยู่
เมื่อพิจารณาถึงความสำคัญของการป้องกันการเสียชีวิตและความทุพพลภาพจากอุบัติเหตุรถชน ศรีลังกาได้ยื่นข้อเสนอต่อ กองทุนความปลอดภัยทางถนนของเลขาธิการสหประชาชาติ และทำงานอย่างใกล้ชิดกับแผนกขนส่งเพื่อเป็นประเทศนำร่องในโครงการเปลี่ยนไปสู่ “การขนส่งสินค้าที่ยั่งยืน” ผลลัพธ์ดังกล่าวคาดว่าจะช่วยรัฐบาลศรีลังกา (Government of Sri Lanka – GOSL) ด้วยข้อเสนอแนะสำหรับการพิจารณาในการพัฒนาศูนย์กลางโลจิสติกส์ท่าเรือแห่งในศรีลังกา คาดว่าจะมีการให้คำปรึกษาออนไลน์ระหว่างผู้เชี่ยวชาญของศรีลังกาและผู้เชี่ยวชาญแผนกการขนส่งตามข้อสรุปของคณะกรรมการการขนส่งที่กำลังจะมีขึ้น
ข้อตกลงการค้าเอเชียแปซิฟิก (Asia-Pacific Trade Agreement – APTA)
ประเทศสมาชิก APTA ครอบคลุมประชากรทั้งหมดประมาณ 2.5 พันล้านคน และมีเป้าหมายที่จะส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจผ่านการใช้มาตรการเปิดเสรีการค้าที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน เพื่อขยายการค้าและบูรณาการทางเศรษฐกิจภายในภูมิภาค การประชุมคณะกรรมการประจำ APTA ครั้งที่ 57 จะจัดขึ้นในอนาคต และจำเป็นต้องมีการติดตามผลที่จำเป็น เพิ่มเติม..