ශ්‍රී ලංකා ප්‍රජාතාන්ත්‍රික සමාජවාදී ජනරජයේ තානාපති සහ නිත්‍ය නියෝජිත කාර්යාලය, බැංකොක්, තායිලන්ත රාජධානිය

இலங்கை ஜனநாயக சோசலிச குடியரசின் தூதரகம் மற்றும் நிரந்தர வதிவிடம், பாங்கொக், தாய்லாந்து இராச்சியம்

The Embassy and Permanent Mission of the Democratic Socialist Republic of Sri Lanka
Bangkok, Kingdom of Thailand

Accredited to the Kingdom of Cambodia, Lao People’s Democratic Republic and
United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific (UNESCAP)

เลือกหน้า
embassy sri lanka
Unescap logos
embassy sri lanka

The Embassy and Permanent Mission of the Democratic Socialist Republic of Sri Lanka
Bangkok, Kingdom of Thailand

Accredited to the Kingdom of Cambodia, Lao People’s Democratic Republic and
United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific (UNESCAP)

Unescap logos
PRESS RELEASE

18th United Nations Day of Vesak Celebration 2023

PRESS RELEASE

Buddha Rashmi National Vesak Festival, Sri Lanka 2023

PRESS RELEASE

Sri Lankans alerted about fraudulent job offers in Thailand

PRESS RELEASE

With the 4th of February marking the 75th Anniversary of the Independence of Sri Lanka, the Sri Lanka Embassy in Thailand celebrated the occasion under the theme ‘Namo Namo Matha Let’s Leap Towards the Centenary’.

Press Releases

Home 5 Media Releases/News 5 UNESCAP and Sri Lankan Authorities held National consultation workshop on Sustainable Freight Transport strategy in Sri Lanka
คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแฟซิฟิก (UNESCAP) และเจ้าหน้าที่ศรีลังการ่วมจัดการประชุมที่ปรึกษาระดับนานาชาติว่าด้วยเรื่องของกลยุทธ์การขนส่งสินค้าอย่างยั่งยืนในศรีลังกา
คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแฟซิฟิก (UNESCAP) และเจ้าหน้าที่ศรีลังการ่วมจัดการประชุมที่ปรึกษาระดับนานาชาติว่าด้วยเรื่องของกลยุทธ์การขนส่งสินค้าอย่างยั่งยืนในศรีลังกา
เอกอัครราชทูตศรีลังกาประจำประเทศไทยและผู้แทนถาวรในเอสแคปกล่าวถ้อยแถลง ในการประชุมสุดยอดด้านนโยบายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ครั้งที่ 1 ณ กรุงนิวเดลี

เอกอัครราชทูตศรีลังกาประจำประเทศไทยและผู้แทนถาวรในเอสแคปกล่าวถ้อยแถลง ในการประชุมสุดยอดด้านนโยบายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ครั้งที่ 1 ณ กรุงนิวเดลี

เมื่อเร็วๆ นี้ ฯพณฯ วี เอ ชามินดา ไอ โคโลนเน่ เอกอัครราชทูตศรีลังกาประจำประเทศไทยและผู้แทนถาวรในคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific) (เอสแคป) ได้กล่าวถ้อยแถลงในพิธีเปิดการประชุมสุดยอดด้านนโยบายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ครั้งที่ 1 ณ ศูนย์การประชุมด้านถิ่นที่อยู่ของพืชและสัตว์ของอินเดีย (India Habitat Centre) กรุงนิวเดลี ทั้งนี้ เป็นไปตามคำเชิญของสภาวิจัยด้านความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศของอินเดีย (Indian Council for Research on International Economic Relations) ซึ่งการประชุมดังกล่าวจัดขึ้นโดยความร่วมมือของสภาวิจัยด้านความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศของอินเดียและคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียใต้และเอเชียตะวันตกเฉียงใต้

เอกอัครราชทูตศรีลังกาประจำประเทศไทยทำหน้าที่ประธานสมัยประชุม ในระหว่างประชุมคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก ครั้งที่ 80 และการเปิดตัวสิ่งพิมพ์เกี่ยวกับความร่วมมือทางวิชาการ

เอกอัครราชทูตศรีลังกาประจำประเทศไทยทำหน้าที่ประธานสมัยประชุม ในระหว่างประชุมคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก ครั้งที่ 80 และการเปิดตัวสิ่งพิมพ์เกี่ยวกับความร่วมมือทางวิชาการ

ฯพณฯ ซี เอ ชามินดา ไอ โคโลนเน่ เอกอัครราชทูตศรีลังกาประจำประเทศไทยและผู้แทนถาวรในคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific) (เอสแคป) เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนศรีลังกาเข้าร่วมประชุมคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก ครั้งที่ 80 ในระหว่างวันที่ 22-26 เมษายน 2567 ณ กรุงเทพฯ ซึ่งการประชุมครั้งนี้กำหนดหัวข้อของการประชุมคือ “การใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมทางด้านดิจิทัลเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (Leveraging digital innovation for sustainable development in Asia and the Pacific)” โดย ฯพณฯ ซี เอ ชามินดา ไอ โคโลนเน่ ได้รับคัดเลือกให้ทำหน้าที่รองประธานของการประชุมเอสแคป ครั้งที่ 80

การประชุมที่ปรึกษาระดับชาติเรื่องกลยุทธิ์การขนส่งสินค้าอย่างยั่งยืนในศรีลังกาถูกจัดแบบเสมือนจริงโดยคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแฟซิฟิก (UNESCAP) สถานเอกอัครราชทูตศรีลังกาประจำประเทศไทย และกระทรวงการคมนาคม ในวันที่ 5 กรกฎาคม 2564

ในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติ หัวหน้าฝ่ายความเชื่อมโยงด้านคมนาคมขนส่ง และระบบการจัดการการส่งสินค้า และ ทรัพยากรของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแฟซิฟิก(UNESCAP) Azhar Jaimurzina ได้ให้คำมั่นไว้ว่า UNESCAP จะให้การช่วยเหลือทางเทคนิคที่จำเป็นในการส่งเสริมกลยุทธ์การขนส่งสินค้าอย่างยั่งยืนในศรีลังกา เนื่องจาก ต้องการเพิ่มผลบวกภายนอกแก่การขนส่งสินค้า

ในการกล่าวเปิดงานของเธอ เอกอัครราชทูตและตัวแทนถาวรศรีลังกาประจำประเทศไทยนางโกโลนเน อัปปุหามิลาเค จมินทะ อิโนกา โกโลนเน ซาบซึ้งใจกับความพยายามและทำงานหนักตลอดมาของ UNESCAP ในการดูแลและประเมินการคมนาคมขนส่งสินค้าอย่างยั่งยืนในศรีลังกา และการพัฒนากลยุทธ์ระดับชาติ

เลขานุการกระทรวงการคมนาคมแห่งศรีลังกา Monty Ranatunge ยินดีกับการคิดริเริ่มของ UNESCAP เพื่อที่จะจัดการประชุมที่ปรึกษาระดับชาติเรื่องการคมนาคมขนส่งสินค้าอย่างยั่งยืน เขาได้แสดงความซึ้งใจกับการเตรียมแบบร่างกลยุทธ์โดย UNESCAP ในการปรึกษาหารือ เขาได้เห็นด้วยกับกลยุทธ์ดังกล่าว นอกเหนือกว่านั้น ยังมีการระบุพื้นที่ในกลยุทธ์ และเน้นย้ำถึงความต้องการในการเพิ่มบทบาทของการคมนาคมทางรถไฟ ภายใต้การดูแลของการขนส่งระบบรางในศรีลังกา

เจ้าหน้าที่ฝ่ายเศรษฐกิจของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแฟซิฟิก (UNESCAP) Sandeep Jain ได้อธิบายอย่างละเอียดในเรื่องของกลยุทธ์ อธิบายถึงเหตุผลของกลยุทธ์การคมนาคมขนส่งสินค้าอย่างยั่งยืน เขากล่าวว่า แผนการนี้จะช่วยให้ศรีลังกาเตรียมการเชื่อมโยงต่อการคมนาคมขนส่งสินค้าอย่างยั่งยืน ประเมิน โดยการประเมินจากการคมนาคมแบบกระจัดกระจายในปัจจุบัน กลยุทธ์นี้จะสามารถช่วยเพิ่มพันธะให้แก่ศรีลังกาโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องเป้าหมายการพัฒนาย่างยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ

แบบร่างของกลยุทธ์มุ่งเน้นไปที่7หัวข้อ รวมถึงการเพิ่มบทบาทของการคมนาคมทางรถไฟ การยกระดับการคมนาคมขนส่งหลายรูปแบบร่วมกัน ทำให้ศรีลังกากลายเป็นศูนย์กลางด้านการท่องเที่ยวและการขนส่งทางทะเล (Maritime Hub) สร้างความยืดหยุ่นของการขนส่งจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เพิ่มพูนความยั่งยืนของการขนส่งทางถนน ความท้าทายการคมนาคมขนส่งในเมือง และกระจายบทบาทของผู้หญิงในภาคการขนส่งของศรีลังกา

ยังมีการระบุถึงตัวกลางทั้งห้าที่จะช่วยเพิ่มกลยุทธ์ รวมถึงเพิ่มความแข็งแกร่งแก่ธรรมาภิบาลสำหรับการคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน การสร้างนโยบายการขนส่งอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการคมนาคม กระตุ้นการมีส่วนร่วมภาคเอกชน และหลากหลายแหล่งเงินทุนเพื่อการคมนาคมขนส่งอย่างยั่งยืน

การประชุมเชิงปฏิบัติมีตัวแทนจากกระทรวงมหาสมุทรและการประมงของสาธารณรัฐเกาหลีเข้าร่วมด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นผู้แบ่งปันประสบการณ์ของนโยบายท่าเรือ และอธิบายว่าศรีลังกาสามารถเรียนรู้จากพวกเขาอย่างไรได้บ้าง ตัวแทนสถาบันพัฒนาการคมนาคมแห่งเอเชีย(AITD)ได้แบ่งปันมุมมองการเผชิญหน้ากับความท้าทายของการรถไฟศรีลังกา และวิธีการบทบาทของการคมนาคมทางรถไฟในศรีลังกา ประธานของศูนย์โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจในมอสโควอธิบายถึงความเข้าใจของความคล่องตัวทางการขนส่งหลังการแพร่ระบาดกลายเป็นส่วนสำคัญสำหรับการวางแผนอย่างเหมาะสมและการลงทุนในด้านโครงสร้างพื้นฐานของการคมนาคมในศรีลังกา

ที่ประชุมเห็นด้วยที่แบบร่างกลยุทธ์จะได้ข้อสรุปในเร็วๆนี้หลังจากการปรึกษากับผู้เกี่ยวข้องและหลังจากนั้นการดำเนินการจะถูกรับรองโดยรัฐบาล

เลขานุการ D. Mataraarachchi กระทรวง อำนวยการสะดวกคลังสินค้า ลานตู้คอนเทนเนอร์ การอำนวยความสะดวกท่าเรืออุปทานและเรือ และการพัฒนาอุตสาหกรรมการขนส่ง และเจ้าหน้าที่อาวุโสอื่นๆจากกรมทางหลวง กระทรวงการขนส่งทางทะเล การท่าเรือศรีลังกา และการรถไฟศรีลังกาเข้าร่วมการอภิปรายด้วยเช่นกัน แล้วยังมีการแบ่งปันมุมมองจากตัวแทนที่ไม่ใช่จากภาครัฐ อย่างศาสตราจารย์ Lalith Edirisinghe จาก the CINEC Maritime Campus ศรีลังกา และ Saritha Ranatunga เลขานุการเอกและรองผู้แทนถาวรจากสถานเอกอัครราชทูต

สถานเอกอัครราชทูตศรีลังกาประจำประเทศไทย
กรุงเทพฯ ประเทศไทย

7 กรกฎาคม 2564